เนื้อหา

สื่อการนำเสนอ
  เสนอ ผศ.ประภาภรณ์  วรรธนะวาสิน

                                                                                                 
  จัดทำโดย


        1. นายมังกร  โพธิ์เหล็ก  รหัส 523351012006 - 8

    2. นายคณานนท์  เนินชัด  รหัส 523351012019 - 1

           3. นางสาววิไลรัตน์  พุทธสุด  รหัส 523351012012 - 6

              4. นางสาววิชุอร  พงษ์โคกสี  รหัส 523351012023 - 3


                    5. นางสาวสุมารินทร์  อินทะบัวสี  รหัส 523351012036 – 5

 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์


1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์

1.1  ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
คำว่า มนุษยสัมพันธ์”  มาจากคำว่า  มนุษย์ + สัมพันธ์  มนุษย์ได้แก่  บุคคลและกลุ่มรวมทั้งหมู่คณะด้วย เมื่อนำมาสมาสเข้าด้วยกัน ก็หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่ม
           ถึงอย่างไรก็ตามได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า มนุษยสัมพันธ์ไว้หลายทัศนะแต่ก็มีความหมายคล้ายคลึงกัน ดังเช่น
          สมพร  สุทัศนีย์  (2544 : 5)  กล่าวว่า  มนุษยสัมพันธ์หมายถึงการติดต่อเกี่ยวข้องกันระหว่างบุคคลเพื่อให้เกิดความรักใคร่ชอบพอ ความร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย และการดำเนินชีวิตให้มีความราบรื่น
          ชลอ  ธรรมศิริ  (2543 : 480)  ได้กล่าวว่า  มนุษยสัมพันธ์  เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่สร้างขึ้นเพื่อยึดเหนี่ยวระหว่างกัน ให้เกิดความรักใคร่ชอบพอ ความร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย และดำเนินชีวิตให้มีความราบรื่น
          วิชัย  แหวนเพชร  (2543 : 16)  กล่าวไว้ว่า  มนุษยสัมพันธ์หมายถึงการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างเรากับผู้อื่น และอยู่ร่วมกันด้วยดีและมีสุข
          นงลักษณ์  ประเสริฐ  (2538 : 2)  ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ว่า  เป็นศิลปในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขและสามารถสร้างสรรค์งานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          อภิญดา  สวารชร  (2530 : 1)  กล่าวว่า  มนุษยสัมพันธ์เป็นวิชาที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลปะในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่นับถือ ความจงรักภักดี  และความร่วมมือ
          เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์  (2525 : 128) ได้สรุปว่า มนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์และศิลปะในการเข้ากับคน การครองใจ และการเอาชนะใจคน ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของผู้นำ
หัวหน้าในการทำงาน หรือปฏิบัติราชการย่อมขึ้นกับความสามารถในการทำงานร่วมกับคน
           โยธิน  ศันสนยุทธ์  (2525 : 1)  ให้ความหมายว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงการเข้ากับคนได้
           นิพนธ์  คันธเสวี  (2525 : 4)  กล่าวว่า  มนุษยสัมพันธ์  หมายถึง  สภาพความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างราบรื่น หรือทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและทุกฝ่ายต่างก็มีความพึงพอใจทุกด้าน


           ฮัลโลแรน  (Halloran, 1995 : 5)  กล่าวถึงมนุษยสัมพันธ์ว่า เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สามารถลดความขัดแย้ง และเสริมสร้างพฤติกรรมความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างบุคลและองค์การ
           ดูบริน  (Dubrin, 1984 : 4)  เน้นว่า  มนุษยสัมพันธ์เป็นศิลป  และปฏิบัติการประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมศาสตร์ไปใช้ในการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของงานและองค์การ
ฟูลเมอร์  (Fulmer, 1983 : 9) ได้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ว่า เป็นความสัมพันธ์อันดีของบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน อันนำไปสู่เป้าหมายของทุกฝ่าย
          เอ็ดวิน บี ฟลิปโป  (Edwin B. Flippo, 1966 : 66) กล่าวว่า   มนุษยสัมพันธ์คือการรวมคนให้ทำงานร่วมกันในลักษณะที่มุ่งให้เกิดความร่วมมือ ประสานงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้บังเกิดผลบรรลุตามเป้าหมาย

         กล่าวโดยสรุป  มนุษยสัมพันธ์เป็นกระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องกันโดยสัมพันธภาพอันดีตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจร่วมกัน การให้การยอมรับนับถือ นำไปสู่ความพอใจ รักใคร่ ร่วมมือ สามารถทำงานร่วมกัน จนบรรลุเป้าหมายในงานส่วนบุคคลและงานในองค์การ

1.2  ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
                สาเหตุและความจำเป็นที่มนุษย์ต้องสร้าง และใช้มนุษยสัมพันธ์นั้นเรื่องนี้  ธนา  โกมลภิส  (2527 : 5)  ได้กล่าวไว้ว่าเป็นเพราะ
         1.  ความว้าเหว่ เพราะว่าเป็นมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้จะรู้สึกเหงา  จึงต้องสร้างและใช้มนุษยสัมพันธ์โดยการคบเพื่อน เพื่อให้คลายเหงา
         2.  ความรัก  มนุษย์ต้องการแสดงออกซึ่งความรัก คือรักบุคคลที่เกี่ยวข้อง และต้องการให้เขารักตอบด้วยจะแสดงออกในรูปของการรักเพื่อนเพศเดียวกันหรือต่างเพศ  ทั้งความรักอันบริสุทธิ์และความรักด้วยเพศสัมพันธ์
         3. ความปลอดภัย มนุษย์ต้องรวมกลุ่มกัน และสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลหรือกลุ่มที่จะช่วยให้เขาปลอดภัยได้  เช่น  บุคคลพยายามรู้จักกับเพื่อนบ้าน  เพื่อนร่วมงาน  หรือผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
         4.  การปฏิบัติงาน  มนุษย์ไม่อาจปฏิบัติงานโดยลำพังตนเองได้ จะต้องอาศัยหรือเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับผู้อื่นเสมอ  ดังนั้น  มนุษย์จึงต้องมีเพื่อนร่วมงาน  หรือผู้ปฏิบัติงานจะต้องสร้างทางเดินของตนไว้โดยผูกสัมพันธไมตรีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในลักษณะรู้อะไรไม่สู้รู้จักกันทำให้
การปฏิบัติงานราบรื่นและสำเร็จเรียบร้อย
         5. ความสำเร็จ  มนุษย์ทั้งหลายต่างก็หวังที่จะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย    หรือตามวัตถุประสงค์ขององค์การ  ผู้บริหารองค์การจะต้องคำนึงถึงความสำเร็จขององค์การโดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้สมาชิกในองค์การรู้จักกันและสามารถประสานงานให้สำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี
         6. สังคม  มนุษยสัมพันธ์เป็นการให้มนุษย์รักกัน ชอบพอกัน  ให้การยอมรับและคบหาสมาคมซึ่งกันและกันอันจะนำมาซึ่งความสงบสุขในสังคม
          7.  เศรษฐกิจ มนุษยสัมพันธ์เพิ่มผลผลิตได้   เพราะมนุษย์มีจิตใจที่เป็นปกติ และเป็นสุข  เนื่องจากมีมนุษยสัมพันธ์ย่อมสร้างงานและเพิ่มผลผลิตได้  ในขณะเดียวกันการมีมนุษยสัมพันธ์จะช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจได้
         8. การเมือง  มนุษยสัมพันธ์ช่วยประสาน  หรือ  จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ในลักษณะที่เรียกว่า กาวใจ

         จากประวัติศาสตร์ของวงการบริหารและการจัดการในองค์การ และสถาบันต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่าได้มีการนำระบบทหารมาใช้ ต่อมาได้พัฒนาการบริหารและการจัดการให้ดีขึ้นตามลำดับ มีการนำวิธีการจัดการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ คือ เฟรดเดอริค  เทเลอร์  และเฮนรี่  ฟาโยล  (Frederick Taylor’s and Henry Fayol’s) ทั้งสองท่านนี้ถือว่า คนงานเปรียบเสมือนกับเครื่องจักรโดยมิได้คำนึงถึงหลักมนุษยสัมพันธ์
         ต่อมานักบริหารคนสำคัญ  คือ  ปาคเกอร์  ฟอลเลต  และเอลตัน  เมโย  (Parker Follett’s and Elton Mayo)  ได้เป็นผู้ริเริ่มนำหลักมนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารงาน เอาใจใส่คนงาน  
ปรากฎว่าผลผลิตเพิ่มขึ้น  เขาได้ยืนยันว่า  มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญมากกว่าปัจจัยทางด้านวัตถุ
         สำหรับ  จำรัส  ด้วงสุวรรณ  (2527 : 6-7)  ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ไว้ดังนี้
         1.  ผู้มีหน้าที่ติดต่อกับบุคคลอื่น ในการทำงานจำเป็นจะต้องติดต่อในการขอความร่วมมือจากผู้ร่วมงานในหน่วยงาน และติดต่อกับบุคคลนอกหน่วยงานด้วยจำเป็นต้องรู้และเข้าใจในเรื่องมนุษยสัมพันธ์
         2.  ผลของการวิจัย  ส่วนมากพบว่าสาเหตุที่ทำให้บุคคลล้มเหลวในการทำงานไม่ได้เลื่อนฐานะถูกปลดออกจากงาน  เพราะขาดสามารถในการเข้ากับคนมากกว่าขาดความรู้
         สถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกีได้วิเคราะห์ประวัติของบุคคลถึงหมื่นคน และสรุปได้ว่า  การฝึกอบรมทางด้านเทคนิคมันสมองของคนและทักษะในการทำงานนั้น ทำให้คนประสบความสำเร็จเพียง 15 % เท่านั้นแต่ปัจจัยต่าง ๆ ด้านบุคลิก การปฏิบัติต่อผู้อื่นนั้นทำให้คนประสบความสำเร็จถึง 85 %
      นอกจากนี้  ไพโรจน์  โพธิ์วงศ์ (อ้างโดย ธนา โกมลภิส  2527 : 77-84) ได้กล่าวถึงความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ไว้ว่า
         มนุษยสัมพันธ์มีความหมายลึกซึ้งกว่าความสัมพันธ์ธรรมดา คนเราอาจจะมีความสัมพันธ์กับใคร ๆ ก็ได้  แต่ถ้าคนเราไม่มีมนุษยสัมพันธ์  การติดต่อสัมพันธ์กันนั้นก็จะมีลักษณะไม่ต่างจากความสัมพันธ์ในหมู่สัตว์มีความป่าเถื่อนแก่งแย่งแข่งขันเอารัดเอาเปรียบเป็นศัตรูและห่างเหินกัน  ภาวะเหล่านี้คือการแตกสลายของสังคม
         จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า มนุษยสัมพันธ์นั้น อันที่จริงก็คือลักษณะของการกระทำต่อกันทางสังคมในทางบวก  อันได้แก่  การแบ่งปันกัน  การทำให้เป็นพวกเดียวกัน  การร่วมมือกัน  การผ่อนปรนเข้าหากัน  และการประสานประโยชน์กัน  เป็นต้น  และแม้แต่การกระทำต่อกันทางสังคมในทางลบ  เช่น  การแข่งขัน  และการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์  ธรรมชาติได้สร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เป็นเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงจิตใจมนุษย์ให้มีความเข้าใจกันและกัน  ไม่แข่งขัน  ห้ำหั่นกันจนตัวเองและสังคมสูญสลายไป
         เราจะเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษยสัมพันธ์ปรากฏอย่างเด่นชัดในคำสอนของบรรดาศาสนาสำคัญ ๆ ในสังคมต่าง ๆ เป็นเวลานับพันปีมาแล้วเป็นต้นว่าในศาสนาคริสต์มีกฎสำคัญอยู่ว่า  “ จงปฏิบัติต่อเพื่อนบ้านของท่าน  เหมือนที่ท่านปฏิบัติต่อตัวของท่านเอง ”  หรือในศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาสำคัญในสังคมไทยก็มีคำสอนเกี่ยวกับความเมตตากรุณา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ยากและความจำเป็นที่มนุษย์เราต้องโอบอ้อมอารี  เห็นอกเห็นใจกันแบบ อกเขาอกเรา
กระบวนการในความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปของการจูงใจหรือสร้างน้ำใจตามหลักมนุษยสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญต่อการบริหารทุกขั้นตอนองค์กรทางการเมืองก็ดี  
หน่วยราชการก็ดี งานธุรกิจ บริษัท หรือ กิจการอุตสาหกรรมสมาคมต่าง ๆ จะเจริญก้าวหน้า และดำเนินกิจการไปได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้ากับคนงานหรือลูกจ้าง  การจูงใจให้คนเหล่านั้นร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานให้ได้ผลตามเป้าหมาย
         ที่เป็นดังนี้เนื่องจากมนุษยสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการสร้างน้ำใจและผลงาน งานจะดำเนินไปได้ด้วยความราบรื่นเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ได้ดีและถูกต้องเพียงใดหรือไม่ ทั้งนี้เพราะมนุษยสัมพันธ์จะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ถ้าหมู่คณะขาดเสียซึ่งมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบของสายการบังคับบัญชา ก็จะมีแต่เรื่องทะเลาะ ยุ่งเหยิง จะหวังให้หมู่คณะหรือ องค์กรนั้น ๆ ทำงานให้สัมฤทธิผลด้วยดี มีความสุขใจในอันที่จะร่วมสร้างศรัทธาในการทำงาน
ให้เกิดขึ้นและมีอยู่ตลอดไปได้อย่างไร
         ในทางการเมือง พรรคการเมืองที่สมาชิกไม่มีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน หัวหน้าพรรคใช้อำนาจเป็นใหญ่โดยไม่คำนึงถึงจิตใจของลูกพรรค ลูกพรรคต่างก็หันหลังให้กันไม่ร่วมมือกัน ต่างคนต่างก็หวังตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งในพรรคและนอกพรรค ชิงดีชิงเด่นกัน ที่สุดพรรคก็ไปไม่รอด
         สภาพดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นที่ไหนก็พังที่นั่น ถ้าเกิดในรัฐสภา รัฐสภาก็จะกลายเป็นตลาด ถึงเวลาลงคะแนนเสียงวาระสำคัญ ต่างคนต่างพรรคก็ทุ่มเงินซื้อเสียงกัน  แต่เงินนั้นไม่สามารถสร้างความจงรักภักดีในระยะยาวเหมือนกับความมีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน
         ความมีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน  ก็คือ  การสร้างความเข้าใจอันดี  เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีเกิดความพอใจ  เกิดความรักใคร่  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้  เป็นพื้นฐานสำคัญของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มอันจำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมประชาธิปไตยอย่างสังคมไทย เพราะเมื่อมีความรักความเข้าใจดี
ต่อกันแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกอยากช่วยเหลือให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจและจริงใจ
         ในทางการปกครอง  ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในสังคมด้อยพัฒนาส่วนมาก คือข้าราชการกับประชาชนเข้ากันไม่ได้ วิกฤตการณ์ในภาคใต้ของสังคมไทยปัจจุบัน ก็มีสาเหตุใหญ่มาจากปัญหานี้ กล่าวคือ เจ้าหน้าที่รัฐบาลทำตัวเป็นนายชาวบ้าน ถืออภิสิทธิ์ละเลยหลักสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์เกี่ยวกับการสร้างความประทับใจให้บุคคลอื่นโดยการให้เกียรติเขายกย่องให้ความสำคัญ
แก่เขา
          เป็นที่ทราบกันดีว่า คนเรานั้น ชื่นชมกับการได้รับยกย่องสรรเสริญ เพราะมนุษย์ทุกคนต้องการเกียรติยศชื่อเสียง มนุษยสัมพันธ์จึงควรจะมีอยู่ในทุกกระบวนการของปฏิบัติราชการ  แต่อำนาจและอภิสิทธิ์ที่ใช้กันมานานเป็นประเพณี ทำให้ข้าราชการบางส่วนในสังคมไทยลืมปรัชญามนุษยสัมพันธ์เกี่ยวกับการยอมรับนับถือศักดิ์ศรีของคนทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมากมาย  
นับแต่การเดินขบวนขับไล่ข้าราชการที่โน่นที่นี่ จนถึงปัญหาเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย
         สำหรับในทางเศรษฐกิจนั้น มีคำกล่าวที่น่าทึ่งอยู่ประโยคหนึ่งว่า มนุษยสัมพันธ์ เพิ่มผลผลิตได้ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งในสังคมด้อยพัฒนาอย่างเรานั้น คือปัญหาเรื่องปากท้อง  ความอดอยากยากจน ถ้าระบบการผลิตอาหารและสินค้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ  หรือผลิตมาแล้ว แบ่งสันปันส่วนกันอย่างไม่ยุติธรรม  คนจนที่หัวโซเป็นล้าน ๆ จะทำให้สังคมปั่นป่วน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบที่หลายคนไม่ปรารถนา
          ระบบการผลิตจะมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการทำงานของคน การทำงานของคนแต่ละคนขึ้นอยู่กับมูลเหตุจูงใจที่จะกระตุ้นให้คนทำงาน มูลเหตุจูงใจเหล่านี้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับจิตใจ การมีจิตใจดีจะทำให้การผลิตสูงขึ้นตามเป้าหมายอย่างสมบูรณ์


         จิตใจที่ดีนั้นมาจากหลายความรู้สึก ที่สำคัญคือความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย การที่ได้รับการยกย่องนับถือ  การยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและโอกาสก้าวหน้าของชีวิต
          เมื่อได้ผลผลิตโดยส่วนรวมเพิ่มสูงตามเป้าหมายแล้ว ก็ต้องเอามาแบ่งกันอย่างยุติธรรม  คนยากจนควรจะได้รับประโยชน์จากผลผลิตนั้นมาก  ส่วนคนร่ำรวยก็ควรรับประโยชน์จากผลผลิตนั้นตามสมควรตามหลักของประชาธิปไตยที่ว่าคนที่เกิดมามีโอกาสก้าวหน้าของชีวิต
         เมื่อได้รับผลผลิตโดยส่วนรวมเพิ่มสูงตามเป้าหมายแล้ว ก็ต้องเอามาแบ่งกันอย่าง ยุติธรรม  คนยากจนควรจะได้รับประโยชน์จากผลผลิตนั้นมาก  ส่วนคนร่ำรวยก็ควรรับประโยชน์จากผลผลิตนั้นตามสมควรตามหลักของประชาธิปไตยที่ว่าคนที่เกิดมามีโอกาสมากกว่าควรให้สังคมมากกว่ารับ  และหลักของมนุษยสัมพันธ์ก็ไม่ใช่อะไรอื่นเลย  เป็นหลักของการให้ธรรมดา ๆ นี่เอง
         การให้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่ทรัพย์สินเงินทองหรือผลประโยชน์ที่เป็นวัตถุเพียงอย่างเดียว  แต่หมายรวมถึงการให้ความรัก  ความเห็นอกเห็นอกเห็นใจ  อย่างที่โบราณว่า ให้เอาใจเขามาใส่ใจเราคนรวยก็ให้ความเห็นอกเห็นใจคนจนต่างฝ่ายต่างเคารพนับถือว่าเป็นมนุษย์
มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน มีไม่มีถือถือว่ามีค่ามีประโยชน์ต่อสังคมเหมือนกัน
         หลักมนุษยสัมพันธ์ในเรื่องความรักนี่เอง  เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมไทยทุกวันนี้เหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาหลายอย่างอันได้แก่ ความแตกแยก ความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน  การแบ่งแยกกันเป็นพวกเป็นเหล่า การพูดโฆษณาชวนเชื่อให้ร้ายป้ายสีกันจนถึงขั้นทำร้ายร่างกายทำลายชีวิตกัน ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นอย่างชัดว่า สังคมของเราขาดแคลนในเรื่องมนุษยสัมพันธ์และมีความต้องการมันมากเพียงใด
         เพราะหลักความรักนั้นเป็นที่มาของการสมัครสมานสามัคคี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการอยู่รอดของสังคมไทยทุกวันนี้

          เป็นที่น่าปลื้มปิติยินดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงแสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า หลักการของมนุษยสัมพันธ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับความรักนั้นมีผลทำให้สังคมไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคงเพียงใด พระองค์ทรงให้ความรักแก่พสกนิกรของพระองค์ประดุจบิดามารดาให้ความรักแก่บุตร ทรงมีพระเมตตาปรานีต่อคนยากจนในชนบทที่ห่างไกลทั่วทุกหนแห่งแม้จะทรงลำบากต่อการเดินทางอันทุรกันดารก็ไม่ทรงย่อท้อ ผลก็คือเกิดความผูกพันอันลึกซึ้งระหว่างคนไทยทุกคนกับพระมหากษัตริย์ ชนิดที่ไม่มีสังคมใดในโลกเสมอเหมือน
         จนเป็นที่เชื่อกันว่าความผูกพันนี้แหละจะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมไทยอยู่รอดตลอดไป  ไม่ว่าจะมีปัญหาทางเศรษฐกิจ  สังคม  และ การเมือง การปกครองมากมายจนถึงขั้นวิกฤติการณ์ สักเพียงใดก็ตาม
จึงสรุปได้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีความจำเป็นและสำคัญต่อบุคคลทุกคนทุกหมู่เหล่าในการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการงานทั้งปวงได้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีและมีความสุขเปรียบเสมือนน้ำมันที่หล่อลื่นให้เครื่องจักรทำงานได้ด้วยดี

1.3  ความเป็นมาของมนุษยสัมพันธ์
มีการศึกษามนุษยสัมพันธ์เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการบริหารมีมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อน ปี ค.ศ.1930   มนุษยสัมพันธ์ได้รับการสนใจในแง่เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การปรับปรุงงาน การจัดการและอยู่ร่วมกันในองค์การอย่างราบรื่น ความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ มีปรากฏในเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์เพื่อการครองใจกัน ความผูกพันรักใคร่ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ยังมีปรากฏอยู่ในคำสั่งสอนของศาสนาต่าง ๆ เช่น กฎทองคำ (Golden Rule) ในคริสต์ศาสนา ได้กล่าวว่า จงปฏิบัติต่อเพื่อนบ้านของท่านเหมือนกับท่านได้ปฏิบัติต่อตัวท่านเอง หรือปรากฏอยู่ในรูปของ
คำสอน สุภาษิตต่าง ๆ เช่น


                                ให้ท่าน          ท่านจักให้             ตอบสนอง
                               นบท่าน              ท่านจักปอง           นอบไหว้
                                            รักท่าน              ท่านควรครอง         ความรัก เรานา
                               สามสิ่ง               นี้เว้นไว้                แด่ผู้ ทรชน
                                                                                                                                                                                                                                                                            (โครงโลกนิติ)

            ในระยะแรก ๆ ขาดการศึกษาค้นคว้า รวบรวม วิจัย และเผยแพร่ในแง่วิชาการ ต่อมา ในราวศตวรรษที่ 19 มีการเคลื่อนไหวทางด้านอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการรวบรวมความรู้ ศึกษาค้นคว้ากันอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบมากขึ้น จนกลายเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง (Halloran, 1995 : 8-14) ต่อไปเป็นรายละเอียดความเป็นมาของ มนุษยสัมพันธ์เพิ่มเติมพอสังเขป ดังนี้
            
หลังจากปฏิวัติอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เทย์เลอร์ (Taylor) และคณะ ได้พัฒนาระบบการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) เพื่อเพิ่มผลผลิตโดย มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อขจัดสาเหตุการไม่ลงรอยกัน ระหว่างนายจ้างกับผู้ทำงาน เทย์เลอร์ มีความเชื่อว่า ถ้านายจ้างสามารถทำงานร่วมกับผู้ทำงานได้ ก็จะส่งถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เทย์เลอร์
ยังเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการทำงาน ในการพัฒนาระบบการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์แนวใหม่ มีการพัฒนาการประเมินทักษะและความสามารถ โดย การพัฒนาระบบการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์แนวใหม่ มีการพัฒนาการประเมินทักษะและความสามารถ โดยการใช้แบบทดสอบและการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้บริหารทางธุรกิจหลายท่าน
เชื่อว่า แบบทดสอบสามารถคัดเลือกคนได้ แต่ไม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานมากขึ้น ทำให้การทำงานและการบริหารงานเป็นระบบระเบียบ ต่อมา
             ในระหว่างปี ค.ศ.1927-1932 มีการศึกษาทดลองที่มีชื่อเสียงมาก เป็นที่รู้จักเกี่ยวกับการศึกษา  ฮอธอร์น (Hawthorne Studies) โดย เมโย (Mayo) และคณะ ได้ทำโครงการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่าง The National Research Council กับ The Massachusetts Institute of Technology ที่โรงงานฮอธอร์น ของบริษัท Western Electric ในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา 
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่ส่งผลต่อการทำงานของคน ได้แก่ ความเข้มของแสง การถ่ายเทอากาศ และความเหนื่อยล้าของคนงาน ผลการวิจัยพบว่า ผลผลิตของการทำงานมิได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมอื่น ๆ ด้วยเป็นต้นว่าขวัญของกลุ่ม และการจูงใจส่วนบุคคล พอจะสรุปแนวความคิดของเมโยได้ดังนี้
             1. เกี่ยวกับปทัสถานทางสังคม ได้พบว่า ผู้ทำงานที่ยอมรับกฎเกณฑ์อย่างไม่เป็นทางการ ของกลุ่ม มีความสบายใจ มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และสามารถเพิ่มผลผลิตมากกว่า ผู้ที่ไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ของกลุ่ม
             2. เกี่ยวกับกลุ่ม พฤติกรรมกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
             3. เกี่ยวกับการให้รางวัล และการลงโทษ พบว่า การได้รับการยอมรับนับถือ การให้ความเห็นอกเห็นใจ และความจงรักภักดีต่อกลุ่ม มีผลต่อการจูงใจในการทำงานมากกว่า รางวัล ที่เป็นเงิน
            4. เกี่ยวกับการบริหาร พบว่า การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูง ขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่มีความสามารถในการสื่อ การเป็นนักฟังที่ดี ไม่วางตนเป็นเจ้านายมีอำนาจเหนือคนอื่น และสามารถให้คำปรึกษาหารือกัน โดยไม่ใช้วิธีการตัดสินใจของตนฝ่ายเดียว

             5. เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการ ได้พบว่า การให้ผู้ทำงานจัดการรับผิดชอบงานด้วย
ตนเอง ช่วยให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปด้วยมิตรภาพ คนทำงานเกิดความพึงพอใจ และเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นด้วย (วนิดา เสนีเศรษฐ 2530 : 88-89)
             ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนั้น ยังคงใช้เป็นแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ ในระยะเวลาต่อมา จากหลักการและความพยายามที่จะบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับความเข้าใจพื้นฐานในความต้องการของมนุษย์ เมโยจึงได้รับสมญาว่าเป็น บิดาแห่ง
มนุษยสัมพันธ์
             แนวความคิดของเมโยแตกต่างไปจากความคิดของเทย์เลอร์ ซึ่งเมโยเชื่อว่า การเพิ่มผลผลิตในการทำงานมิได้เป็นผลมาจากการทำงานของผู้ทำงาน แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลฝ่ายต่าง ๆ อย่างราบรื่นมากกว่า มนุษยสัมพันธ์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมจนถึงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 มนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งขึ้น เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการแสวงหาสันติภาพ อิสรภาพ และการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ในธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่ม และให้ความสนใจในสัมพันธ์ภาพของมนุษย์ คนทำงาน
มีโอกาสได้รับความรู้และพัฒนาด้านทักษาทางสังคมมากขึ้น สามารถได้รับการตอบสนองซึ่ง
ความต้องการและสร้างสรรค์งานของตนให้ดีขึ้น
             นักพฤติกรรมศาสตร์ให้ความสนใจมนุษยสัมพันธ์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ เพื่อความเข้าใจพฤติกรรมของคน เข้าใจอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อพฤติกรรมของบุคคล และเชื่อว่า ความเชื่อของบุคคลมีผลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ นอกจากนั้นก็มีการศึกษาและเผยแพร่ทฤษฎีทางธุรกิจและสังคมศาสตร์ที่สำคัญ 2 ทฤษฎี โดยแมคเกรเกอร์ (McGregor) ได้แก่ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y โดยอาศัยแนวความคิดด้านมนุษยนิยม มาสโลว์ (Maslow) ได้ศึกษาระดับความต้องการของมนุษย์ อันมีผลต่อการศึกษามนุษยสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง ในระหว่าง ค.ศ.1940 และ 1950 มีนักจิตวิทยาหลายท่าน เช่น โรเจอร์ส (Rogers) และ เลวิน (Lewin) รวมทั้งนักสังคมวิทยา เช่น เบล (Bell) และมิลล์ (Mills) ต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์มากขึ้น ต่อจากนั้นมา มนุษยสัมพันธ์จึงกลายเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีการเปิดสอนอย่างเป็นทางการและได้รับการยอมรับจากบุคคลในวงการธุรกิจมาก
             ในระยะต้น ๆ ของปี ค.ศ.1980 เป็นที่น่าสังเกตว่า ทฤษฎีทางธุรกิจ และแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ ได้มีการพัฒนาในประเทศอื่น ๆ เช่น ทฤษฎี Z เน้นปรัชญาการทำงานของญี่ปุ่น มีความเชื่อว่าเวลาของชีวิตการทำงาน ความมั่นคงขององค์การและกลุ่ม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
             ในปัจจุบันนั้นประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสนใจคุณภาพของชีวิตมนุษย์ โดยเน้นการพัฒนาตนและความต้องการภายใจของบุคคลมากกว่าวัตถุนิยม บุคคลต้องตัดสินใจระหว่างเงินกับความรู้สึกสำเร็จในจิตใจ ต้องการบูรณาการระหว่างงานกับวิถีชีวิตให้มากขึ้น บุคคลทั่วไปต้องการได้รับความเอาใจใส่ต่อจิตใจ ซึ่งเดิมไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องเหล่านี้มาก่อนเลย ผู้บริหารงานที่ดี มักจะใช้วิธีเสนอคำถามใหม่ ๆ ต่อผู้ร่วมงานของเขา  เช่น  เราจะทำงานให้ดีขึ้นอย่างไร และเราสามารถไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสนใจร่วมกัน มนุษยสัมพันธ์ได้รับการพิจารณาให้เข้าไปมีบทบาทในวิชาชีพต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น วิชาชีพการแพทย์ ได้เปลี่ยนแนวความคิดจากการรักษาโรค มาเป็นการรักษาคนเป็นโรค วิชาชีพพยาบาลได้เปลี่ยนทัศนะจากการพยาบาลผู้ป่วย โดยเน้นการบริการด้วยการจูงใจมากขึ้น วิชาธุรกิจได้เปลี่ยนแนวคิดจาก
การเสนอขาย มาเป็นการเสนอบริการต่อผู้บริโภค วิชาชีพครู ไม่มุ่งเน้นเพียงการสอนหนังสือ แต่มุ่งส่งเสริมให้คนใฝ่การเรียนรู้ เป็นต้น
             จากแนวโน้มดังกล่าวมานี้ จึงได้มีการพัฒนาวิชามนุษยสัมพันธ์ ให้เป็นแขนงวิชาเฉพาะมากขึ้น ได้แก่ มนุษยสัมพันธ์สำหรับแพทย์ มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้บริหาร มนุษยสัมพันธ์ ในองค์การ และมนุษยสัมพันธ์สำหรับครู เป็นต้น นอกจากจะมีการเปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ ในทุกสายวิชาชีพแล้ว ยังมีการฝึกอบรมมนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้ทำงาน พนักงานในองค์การภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั่วไปอย่างกว้างขวาง

1.4 ประโยชน์ของวิชามนุษย์สัมพันธ์
วิชามนุษยสัมพันธ์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับทุกคน และมีโอกาสใช้อยู่ตลอดเวลาทุกกรณีตลอดชีวิตเพราะมนุษย์จะต้องติดต่อสัมพันธ์และกันตลอดเวลาและทุกหนทุกแห่ง ยิ่งคนเราต้องใช้ชีวิตในโลกและสังคมปัจจุบันแบบสมัยใหม่มากเท่าใดความจำเป็นที่ต้องติดต่อและพึ่งพาอาศัยคนอื่นก็ยิ่งมีมากขึ้นทุกขณะตั้งแต่เกิดไปจนตาย วิชามนุษยสัมพันธ์นี้สามารถทำให้ผู้เรียนมีความสุขในชีวิตส่วนตัว มีส่วนสร้างสรรค์ความสงบ ความเรียบร้อยและความเจริญก้าวหน้า ให้ในหมู่คณะและสังคมประเทศชาติได้อย่างถาวร อย่างไรก็ตามอาจสรุปประโยชน์ของวิชามนุษยสัมพันธ์ได้ดังนี้
         1. เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติ ความต้องการ ความแตกต่าง ตลอดจนลักษณะของบุคคล
รู้วิธีที่จะเอาชนะใจคนให้เข้ามาร่วมงานด้วยความรักและความพอใจ
         2. ทำให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคม และสามารถทำงานร่วมกับบุคคลทุกคน
         3. เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารในการใช้มนุษยสัมพันธ์เพื่อความสำเร็จของงาน
         4. ทำให้เกิดความเชื่อถือ รักใคร่ซึ่งกันและกัน อันจะนำมาซึ่งความสามัคคี
         5. เป็นสื่อในการติดต่อประชาสัมพันธ์ให้บุคคลอื่นยอมรับเข้าใจในการปฏิบัติงานของเรา
ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง อันจะทำให้กิจการต่าง ๆ ที่ทำขึ้นนั้นสำเร็จได้ด้วยดี
         6. เป็นปัจจัยสำคัญในการประสานงาน และประสานประโยชน์เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาทาง
สังคม เศรษฐกิจ การปกครอง และการเมือง
         7. ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน พร้อมที่จะร่วมมือกันทำงาน และอยู่ร่วมกัน

สรุป มนุษยสัมพันธ์เป็นวิชาที่ว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลเพื่อที่จะให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานหรืออยู่ร่วมกันด้วยดีและมีความสุข  มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญมากในการที่จะเชื่อมต่อหรือประสานใจในลักษณะกาวใจระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล อันจะยังประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อบุคคลและมนุษยชาติ สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และจะช่วยเสริมสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่สังคมได้เป็นอย่างดี












ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์


2. ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์

ในการทำงานกับมนุษย์ เราจะต้องเรียนรู้และพยายามเข้าใจถึง การกระทำและการแสดงของเขาเกิดเนื่องจาก " ความเป็นมนุษย์ที่มี ความต้องการ" เช่นเดียวกัน ซึ่งการศึกษาเรื่องธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์ จะช่วยให้เราเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น และนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างของมนุษย์ได้ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคม อย่างมีความสุข รู้และเข้าใจความมีอยู่เป็นอยู่จริง ตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้เรา สามารถตอบสนองความต้องการ ของผู้อื่นได้ อย่างถูกต้อง อันนำไปสู่การมี ความสัมพันธ์ที่ดี และมีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน เราควรระลึกเสมอว่า คนมิใช่สิ่งของ (Man is not a thing ) หรือเครื่องจักร เพราะคนมีอารมณ์ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ ความคิดเห็น และบุคคลิกลักษณะส่วนตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิต และประสิทธิภาพขององค์การ มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นการศึกษาใจคนเป็นส่วนใหญ่ เป็นการเข้ากับคนเอาชนะใจคน (เสถียร มงคลหัตถี , 2510 : 30) ด้วยเหตุนี้ความสามารถเข้ากับคนได้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินชีวิต

ผู้ที่ล้มเหลวในการดำเนินชีวิตก็เพราะเข้ากับคนไม่ได้ แม้จะมีความรู้ความสามารถสูงสักเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถเข้ากับคน หรือสังคมได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถ รวมทั้งชีวิตร่างกายจะไร้คุณค่า สิ้นความหมาย และนั่นคือความล้มเหลวของชีวิตของคนเรา "

ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญยิ่งไปกว่าคน และในตัวบุคคลไม่มีอะไรจะสำคัญยิ่งไปกว่าจิตใจ ( In the world there is nothing great but man, in man there is nothing great but mind )

การที่มนุษย์มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จะทำให้บุคคลทำงานและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีราบรื่นดี และมีความสุข หากสัมพันธภาพเป็นไปในทางลบ ก็จะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีผลให้งานด้อยประสิทธิภาพไปด้วยและอาจจะทำให้เกิดความแตกแยกในที่สุด ดังนั้นจึงควรมุ่งศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล อันจะเป็นผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของมนุษย์ (Ann Ellenson ,1982 : 11)



2.1  ธรรมชาติของมนุษย์ 
ธรรมชาติได้สร้างสิ่งที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยมีการคัดเลือกพันธ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะสามารถอยู่รอด และถ่ายทอดลักษณะเด่นนั้นๆ ออกมาให้แก่ลูกหลานสืบต่อเผ่าพันธ์ และสามารถดำรงเผ่าพันธ์ตนเองไว้ได้ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างดียิ่ง มนุษย์จึงยังสามารถดำรงเผ่าพันธ์ของตนไว้ได้จนถึงปัจจุบัน
โธมาส ฮอบส์ ( Thomas Hobbes ) กล่าวว่า " ธรรมชาติของคนนั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว ขี้โม้โอ้อวดตน ต่ำช้า หยาบคาย เอาแต่ใจตัวเอง ยื้อแย่งแข่งดีกันโดยไม่มีขอบเขต อายุสั้น แต่ถ้าพบกับความทุกยากแล้ว คนจึงจะลดความเห็นแก่ตัวลงและสังคมจะช่วยให้เขาดีขึ้น " วิลเลียมสัน (Williamson) ก็กล่าวทำนองเดียวกันว่า " ทุกคนที่เกิดมาเป็นเสมือนผีร้าย "( Every body is evil) แต่ จอห์น ล็อค ( John Lock ) กลับมีแนวความคิดเห็นตรงกันข้ามว่า " มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนดี ไม่ได้มีความเห็นแก่ตัว ส่วนความไม่ดีนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมของเขา " (กฤษณา ศักดิ์ศรี, 2534 : 94) นอกจากนี้แล้วนักสังคมวิทยาเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไปชอบเรียนรู้ มีความอยากรู้ อยากเห็นอยากดู ชอบที่จะรู้เรื่องของผู้อื่นบางคนรู้จักคนอื่นดีกว่าตนเองเสียอีกเพราะไม่เคยสำรวจตัวเองดูบ้างเลยเพราะโดยทั่วไป คนชอบเรียนรู้เรื่อง ของคนอื่น มากกว่าตนเอง และมีความรู้สึกว่าตนเองรู้จักผู้อื่นได้ดี แต่ถ้าหากมีคำถามย้อนกลับว่า ตัวท่านเองนั้นรู้จักตัวเองแค่ไหน คนๆ นั้นมักจะโกรธ มิใช่เพราะว่าดูถูก แต่ภายใต้จิตสำนึกนั้น คือความไม่รู้จักตัวเองแล้วทำให้รู้สึกมี ปมด้อยเกิดขึ้น

2.2  ความเป็นมนุษย์ตามธรรมชาติ
ก่อนที่จะศึกษาเรื่องมนุษยสัมพันธ์  ควรได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
ดังที่นิพนธ์  คันธเสวี  (2528 : 4-6)  ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ตามธรรมชาติไว้  ดังนี้
             แม้ว่าเราจะเป็นมนุษย์และเป็นมนุษย์รุ่นหลัง  เราได้ทำการศึกษาเรื่องของมนุษย์มากันมากมายแล้ว  แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความเป็นมาของมนุษย์อย่างถูกต้อง  ที่คิดว่าเข้าใจก็มองไปในทัศนะที่แตกต่างกัน  อันก่อให้เกิดการกระทำหรือปฏิบัติต่อกันทั้งในทางเศรษฐกิจ  สังคม 
การปกครอง  การเมือง  และทางวัฒนธรรมที่ขัดแย้งกัน  จนกระทั่งในบางกรณีมีการเผชิญหน้ากันและตัดสินกันด้วยวิธีการที่รุนแรงในรูปของอาชญากรรม  หรือสงคราม  ทำให้ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินกันไปเป็นจำนวนมากมายมหาศาล  อย่างไรก็ตาม  อาจวิเคราะห์ความเป็นมนุษย์ได้ 2 ด้าน คือ
1. ความเป็นมนุษย์วิเคราะห์ในด้านวิชาการ 
            การศึกษาความเป็นมนุษย์นั้น  น่าที่จะนำความคิดสากลที่ได้มีการพิสูจน์และยอมรับกันในหมู่นักวิชาการสาขาต่าง ๆ มาผสมผสานกัน  ซึ่งในปัจจุบันนี้วิชาการสาขาต่าง ๆ ที่ได้ศึกษากันมาตั้งแต่ชั้นประถมถึงขั้นอุดมศึกษา  และตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงทุกวันนี้  อาจแบ่งได้เป็น 3 แขนงใหญ่ ๆ คือ
1.1  วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  (Natural  Sciences)
1.2  สังคมศาสตร์  (Social  Sciences)
1.3  มนุษยศาสตร์  (Humanities)บรรดาวิชาต่าง ๆ ที่เราศึกษาเล่าเรียนกันไม่ว่าจะเป็นระดับใดหรือในสังคมใด  จะแบ่งได้เป็น 3 แขนง  ดังกล่าวทั้งนั้น เนื้อหาสาระของวิชาทั้งหมดนี้หากจะวิเคราะห์ถึงที่สุดแล้ว  เราอาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เราได้เข้าใจมนุษย์และสิ่งแวดล้อมของมนุษย์  เราศึกษาเพื่อจะเข้าใจมนุษย์  หรืออย่างน้อยก็เพื่อจะให้การใช้ชีวิตของมนุษย์ครบถ้วนสมบูรณ์
วิชาการทั้งหมดนี้เป็นเหมือนแสงสว่างที่ส่องมาจากมุมต่าง ๆ ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะรู้จะเข้าใจโดยเฉพาะความเป็นมนุษย์  ชีวิต  โลก  และจักรวาล  ถ้าจะมองมนุษย์  แสงสว่างเหล่านี้จะทำให้เรารู้จักมนุษย์ในแง่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  ได้แก่  ด้านเคมี  คือมีองค์ประกอบทางเคมีอะไรบ้าง  ด้านชีววิทยา  คือมีองค์ประกอบทางชีววิทยาอะไรบ้าง  ด้านฟิสิกส์  คือมีองค์ประกอบและมีพลังงาน  และความร้อนหรือไม่อย่างไร  ในแง่สังคมศาสตร์  ได้แก่  ด้านจิตวิทยา  มนุษย์มีพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร  ด้านสังคมวิทยา  มนุษย์มีความสัมพันธ์กันและกันอย่างไรในรูปแบบใด  ในแง่มนุษยศาสตร์  มนุษย์มีความคิดมีจินตนาการอะไรและอย่างไร  อะไรคือความจริง  ความแท้  ความถูกผิด  ความดี  ความชั่ว  ความไพเราะ  ความสวยงาม  ฯลฯ
      2.  วิเคราะห์ในด้านปรัชญาและศาสนา
ความรู้ที่เราได้จากปรัชญาและศาสนาของโลก  ทำให้เราทราบว่าชีวิตของมนุษย์แบ่งได้เป็น 2 ภาค  หรือ 2 โลก  คือ  ภาคกาย  และภาคจิตปรัชญากรีกและศาสนาที่เกิดขึ้นมาในโลกตะวันตกอธิบายว่า  ชีวิตของมนุษย์อยู่ใน 2 โลก  คือ  โลกแท้  (The World of Ultimate Reality)  กับโลกมายา  (The World of  Ordinary Experiences)  ซึ่งเป็นเงา  (Images)  ของโลกแท้อันเป็นความคิดที่บริสุทธ์  (Pure  Ideas)
               ในประเด็นนี้พุทธปรัชญาก็มีความเห็นที่สอดคล้องตรงกันกับของตะวันตก  ที่กล่าวว่า 
โลกมนุษย์นั้น  เป็นโลกแห่งกาย  และโลกแห่งจิต  โดยอาจอธิบายอย่างง่าย ๆ ว่า  ชีวิตของมนุษย์เรานี้  (อาจรวมถึงสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายในโลกและจักรวาลด้วย)  มีกายเป็นรูปร่างเห็นได้  จับต้องได้  รู้สึกได้  และจิต  ซึ่งรวมถึงทั้งความคิดและความรู้สึก  ตราบใดที่สิ่งที่มีชีวิตยังเป็นอยู่  ทั้งสองภาคนี้จะผสมผสานกันเป็นบูรณภาพ  แต่เมื่อตายไปทั้งสองจะแยกจากกัน  เมื่อไม่มีจิตแล้ว  กายก็เป็นวัตถุ  ส่วนที่เป็นอินทรียวัตถุ  (Organic  Matter)  ก็จะแปรสภาพทั้งทางเคมีและชีววิทยาเป็นอนินทรียวัตถุ  (Inorganic Matter)
             ความคิดที่ว่าเรามีโลกแท้และโลกมายานั้น  ก็หมายความว่าสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์นั้นมีส่วนที่เรามองไม่เห็นแต่เรารู้ว่ามีอยู่  หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า จิตนั้น  คือ สิ่งที่แท้  ส่วนที่เรามองเห็นได้  คือ รูปกาย  เป็นตัวตนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แท้  แต่เป็น  “เงา”  หรือหุ่นของสิ่งที่แท้ของชีวิต  ความเป็นมนุษย์ที่แท้นั้นเรามาองไม่เห็น  แต่ที่เราคิดเอาว่าเป็นตัวเป็นตนของมนุษย์นั้นกลับเป็นเพียง เงาของความเป็นมนุษย์
             พุทธปรัชญาจึงได้อธิบายว่า  คนเรามักจะเข้าใจว่า  เรามีตัวตนและเป็นตัวตน  เป็นสิ่งที่
แท้จริงแน่นอนและจริงจัง ความจริงแล้วชีวิตที่เรามองเห็นนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งแปลว่า  ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เกิดมาเป็นตัวเป็นตนแล้วก็เสื่อมดับสูญไป  เป็นทุกข์  คือ  ไม่ทน  ไม่คงอยู่ในสภาพเดิมได้  และไม่ใช่ตัวตนจริง ๆ ตัวตนที่แท้ย่อมถาวรเป็นอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น  แต่ที่เราเป็นอยู่นี้เสมือนชะลอมไม้ไผ่ ที่ช่างจักสานทำขึ้นมาจากไม่มีอะไรและไม่ใช่อะไรจนกลายเป็นรูปชะลอมสำหรับใช้สอยแต่พอดึงตอกไม้ไผ่นั้นออกทีละชิ้น  ในที่สุดก็ไม่มีความเป็นชะลอมเหลืออยู่  มีแต่กองตอกไม้ไผ่ ฉะนั้นที่เราคิดว่าเราเป็นคนนั้นคนนี้หรือมีตัวตนนั้นเราสมมติขึ้นมาเองโดยทิฏฐานุสัย  คือ  เชื่อถือยึดมั่นแล้วเอาจริงเอาจังกับสิ่งสมมตินั้น  จนคิดว่ามันเป็นสิ่งที่แน่นอนเลยมีอุปาทาน  คือ  ยึดมั่นด้วยความหลงใหล  ถ้าใครมาทำอะไรเกี่ยวกับตัวเราของเราเข้า  เราจะรู้สึกสะเทือนใจ  เพราะคิดว่ามันมากระทบกระเทือนต่อตัวตนหรืออัตตาของเรา  ถ้าเป็นส่งที่เราพอใจหรือสอดคล้องกับภาพพจน์ของเราเราก็ดีใจปิติยินดี  ชื่นชมสนุกสนาน  แต่ถ้าตรงกันข้ามเราจะรู้สึกเสียใจ  ผิดหวัง  โกรธ  น้อยใจ  อิจฉา  ฯลฯ
              ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ในแง่นี้  เราได้วิชาการทางมนุษยศาสตร์  ทำให้เราได้คิดว่าสิ่งที่เรามองเห็นได้จับต้องได้นั้น  ความจริงแล้วไม่ใช่ของแท้  แต่ของที่แท้นั้นเรากลับมองไม่เห็น  จับต้องไม่ได้  แต่เรารู้  ซึ่งปรากฏในรูปของความคิด  ความใฝ่ฝัน  จินตนาการ  จึงกล่าวได้ว่าปรัชญาและความเชื่อเกี่ยวกับมนุษย์ของปรัชญาเมธีกรีกและศาสนาทางตะวันตก  กับพุทธปรัชญานั้นสอดคล้องต้องกันในประเด็นนี้
              คำว่า ธรรมชาติ”  มีความหมายอยู่หลายประการ  แล้วแต่ทัศนะของบุคคล  ในทางพุทธปรัชญาให้ความหมายว่า  ธรรมชาติ  หมายถึงการเกิดโดยธรรม  (ธรรมะ = สิ่งที่บริสุทธิ์  และเป็นปรมัตถสัจจะ, ชาติ = การเกิด)  เนื่องจากไม่อาจอธิบายคำว่าธรรมะให้เป็นที่ยอมรับกันได้  ก็เลยให้ความหมายว่า  คือ  สิ่งที่เป็นอยู่แล้ว  ไม่มีใครสร้าง  ไม่มีกาลเวลา  ไม่เสื่อมสลาย  เป็นอมตะ
             ในทางคริสต์ศาสนา  ศาสนาอิสลาม  และอื่น ๆ ที่สอนเน้นเรื่องพระผู้เป็นเจ้า  ได้ตีความว่า  ธรรมชาติ  หมายถึงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสิ่งนั้นหรือผู้นั้นที่เรียกในภาษาไทยว่า พระเจ้า”  ภาษาอังกฤษว่า “God”  ภาษายาวีห์ว่า อัลเลาะห์”  ภาษาเฮ็บบรูว่า ยาเวห์หรือยะโฮวา”  ภาษาจีนว่า เต๋า”  ฯลฯ  ซึ่งธรรมชาตินี้อันประกอบด้วยกาลเวลา  อวกาศ  หรือสถานที่สสารและพลังงานที่ปรากฎให้เราเห็นด้วยอินทรีย์ของเราเอง  คือ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ  เป็นพืช  สัตว์  สิ่งของและมนุษย์เองในระบจักรวาล  รวมทั้งโลกที่เราอยู่ 
สรุปได้ว่า  ธรรมชาติของมนุษย์คือสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่  และเป็นอนัตตา  คือความไม่เที่ยงแท้แน่นอนนั่นเอง

2.3  องค์ประกอบของมนุษย์
สำหรับการวิเคราะห์ถึงแก่นแท้หรือองค์ประกอบที่สำคัญของมนุษย์นั้น  นิพนธ์ คันธเสวี (2528 : 6-12) ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับองค์ประกอบของมนุษย์ไว้ดังนี้
         การศึกษาเรื่องของมนุษย์นั้น  ถ้าได้เข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบด้วย  ก็จะทำให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นถึงความหมายของชีวิตมนุษย์  เพราะถ้าคนเราเข้าใจเพียงแต่ว่ามนุษย์นั้นมีแต่กาย  ไม่มีอย่างอื่น  เช่น  จิตหรือวิญญาณ  ก็จะคิดแต่บำรุงบำเรอตัวเองด้วยความสุขทางกายอย่างเดียว  หรือคิดว่าชีวิตคงจะเริ่มต้นที่การปฏิสนธิในครรภ์มารดาและสิ้นสุดแค่การสิ้นลมหายใจ  ก็จะใช้ชีวิตโดยการหาความสุขใส่ตัวเองไม่คำนึงถึงความดี  ความชั่ว  แต่จะกอบโกยให้ได้ทุกอย่าง  และมากที่สุด  ในขณะที่มีชีวิตอยู่  เขาย่อมไม่พะวงถึงบาปบุญคุณโทษ  และไม่คำนึงถึงจริยธรรมหรือ
คุณธรรมประการใด
         ในเรื่ององค์ประกอบของมนุษย์นี้  ถ้าจะพิจารณาในแง่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  ก็จะไม่มีอะไรมากนอกจากทางวัตถุ  หรือสสาร  ไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่าจิตใจ  แต่ถ้ามองจากทัศนะของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ก็จะรวมเอาทางกายภาพเข้าไปด้วย  แต่เพิ่มเติมส่วนที่เป็นนามธรรม  ที่ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติไม่สนใจหรือพิสูจน์ไม่ได้  ต่อไปนี้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของมนุษย์ในด้านต่างๆ คือ
1.  ด้านปรัชญา
1.1  ปรัชญาตะวันตก  โดยเฉพาะปรัชญาเมธี  เพลโต  และอริสโตเติล  แบ่งร่างกายมนุษย์ออกเป็น 3ส่วน  จากข้างล่างถึงข้างบน  คือ
                1.1.1  กาย  ตั้งแต่ทวารหนัก  ทวารเบาจนไปถึงลิ้นปี่  อันประกอบด้วยอวัยวะขับถ่ายสืบพันธุ์ และระบบย่อยอาหาร  ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่มีความเป็นสัตว์
                                             1.1.2  ใจ  ตั้งแต่ลิ้นปี่ไปจนถึงคอ  อันประกอบด้วยหัวใจและนม  อันแสดงถึงคุณธรรมที่สูงสุดของความกล้าหาญ
             1.1.3  จิต  ได้แก่  ศีรษะ  ซึ่งแสดงถึงคุณธรรมอันสูงสุดด้านเหตุผลและความคิด
1.2  ปรัชญาตะวันออก  โดยเฉพาะพุทธปรัชญา  แบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 ส่วน  หรือ
5 กอง  เรียกว่า  ขันธ์  ได้แก่
             1.2.1  รูป (Body)  คือ  ร่างกาย  หรือส่วนที่จับต้องได้  เห็นได้  หรือจะเรียกว่าเป็นส่วนของเนื้อหนัง
              1.2.2  เวทนา  (Feelings  หรือ  Sensation)  คือ  ความรู้สึกเป็นทุกข์เป็นสุข  จะเรียกว่า  อารมณ์  ก็คงไม่ผิด
              1.2.3  สัญญา  (Remembering)  คือ  ความจำ
1.2.4  สังขาร  (Though  หรือ  Idea)  คือ  ความคิด
1.2.5  วิญญาณ  (Sensory  Consciousness)  คือ  ความรู้ตัว
2.  ด้านจิตวิทยา  นักจิตวิทยาแบ่งมนุษย์ออกเป็น 3 ส่วน
2.1  กายภาพ  (Physiological)  หรือร่างกาย
2.2  อารมณ์  (Emotional)  คือ  ความรู้สึกดีใจ  เสียใจ
2.3  สติปัญญา  (Intellectual)  ได้แก่  จินตนาการ  ความใฝ่ฝัน  ความเชื่อถือ  ทัศนคติหรือเจตคติ
3.  ด้านศาสนา  ศาสนาส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า   มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้เพราะจิตวิญญาณ  (Soul  หรือ Spirit)  เมื่อวิญญาณจิตนี้ออกจากร่างกายไปเมื่อใด  คนก็ตาย  ร่างกายก็จะเน่าเปื่อยผุพังเป็นดินไปในที่สุด  แต่ชีวิตมิได้สิ้นสุดที่การตาย  เพราะเมื่อร่างกายตายไป  จิตวิญญาณนั้นยังอยู่ในพุทธศาสนาเชื่อว่า  ชีวิตมีการเวียนว่ายตายเกิด  ที่วนเวียนอยู่ระหว่างชีวิตหนึ่งกับชีวิตหนึ่งได้นั้น  ก็เพราะจิตวิญญาณนี้เอง  ถ้าปราศจากจิตวิญญาณนี้ชีวิตจะไม่มีการต่อเนื่อง
4.  ด้านสหวิทยาการ
จากการศึกษาค้นคว้า  โดยอาศัยวิชาการต่างๆ แบบสหวิทยาการ  (Multidisciplinary)  ก็พอสรุปได้อย่างหยาบ ๆ ประการหนึ่งว่า  การเนรมิตสร้างโลกและมนุษย์นั้นไม่ได้เป็นไปอย่างกะทันหันแบบนวนิยายประเภทอภินิหาร  คือ  เป่าปุ๊บก็เกิดเป็นคน  เป็นสัตว์  เป็นต้นไม้  เป็นภูเขา  ฯลฯ  แต่เป็นไปในลักษณะของวิวัฒนาการ  อันแสดงถึงการสร้างอย่างมีแผนมีกฎเกณฑ์และมีความหมายที่ลึกซึ้ง  มนุษย์จึงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน  กว่าจะมาเป็นมนุษย์สมัยใหม่ (Modern Man)  นี้ก็ใช้เวลาเป็นหลายพันล้านปี  (ประมาณ 43 พันล้านกว่าปี)  นับแต่เริ่มอณูแรกหลังจากชีวิตแรกที่เกิดอุบัติขึ้นบนพื้นโลกประมาณ 7,255 พันล้านปี  มนุษย์สมัยใหม่เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 3 หมื่นปีมาแล้ว ในยุคทองบรอนซ์เริ่มเมื่อประมาณ 5 พันปีมานี้  ต่อจากนั้นการวิวัฒนาการทางความคิดและวัฒนธรรมก็ดำเนินมาอย่างรวดเร็วลูกตุ้มแห่งระยะเวลาของการวิวัฒนาการแกว่งเร็วถี่ขึ้นเป็นลำดับ  มนุษย์ดั้งเดิมใช้หอกทำด้วยหินและไม้ถึงกว่าหนึ่งแสนปี  ใช้ศรและธนูถึง 2 หมื่นปี  ถึงจะรู้จักเปลี่ยนมามีการใช้รถม้า  อีกสามพันปี  จากนั้นถึงรู้จักทำดินปืน  (ประมาณปี ค.ศ.1249)  วิทยาศาสตร์จริง ๆ ได้เริ่มเกิดขึ้นในคริสต์วรรษที่ 13 โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้คิดค้นพบสมการที่พิสูจน์การโคจรของดาวพระเคราะห์ต่าง ๆ วิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูง  เช่น  แคลลูลัส  ชีววิทยา  และแพทย์แผนใหม่  เป็นต้น  ช่วงนี้กินเวลาสั้นลงหน่อย  คือประมาณ 700 กว่าปี  ถึงจะเกิดการค้นพบความลึกลับของปรมาณู  ทำให้เกิดวิชานิวเคลียร์ฟิสิกส์ขึ้น  ในปี ค.ศ.1945  ระเบิดปรมาณูลูกแรกได้ถูกนำมาใช้  ช่วงนี้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้ารวดเร็วอย่างมหาศาลจนมนุษย์มีเครื่องบิน  จรวด  รถยนต์  และดาวเทียมใช้
มนุษย์มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ  แล้วมนุษยชาติล่ะจะมีเกิดและ
เสื่อมสูญหรือไม่  หรือว่ามนุษยชาติเป็นอมตะ  ถ้ามนุษย์ชาติเป็นมาและจะเป็นไปเช่นเดียวกับรูปแบบของมนุษย์แต่ละบุคคลแล้ว  ความสิ้นสุดของมนุษยชาติจะมาถึงเมื่อใด
ยิ่งเรียนยิ่งศึกษาค้นคว้าเรื่องของมนุษย์ ก็ยิ่งทำให้เรามองเห็นความลึกลับซับซ้อนของมนุษยโลกและชีวิต  คนที่อยู่ในความมืดมองอะไรไม่เห็นก็มักจะบอกว่าไม่มีอะไร  แต่คนที่สายตาดีอยู่ในความสว่างจะมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว  ใกล้และไกลมากมาย  ยิ่งเรามีตาเหมือนกล้องจุลทรรศน์และโทรทัศน์  เรายิ่งจะทึ่งต่อสิ่งต่างๆ มากยิ่งขึ้น  และยอมรับว่ามีมากมายเหลือเกินที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจ  ไม่ใช่เพื่อจะตอบคำถามที่ว่ามันมีความหมายอะไร  คำถามแรกๆ นั้น  เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจะเป็นผู้ตอบ แต่คำถามหลังนี้เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ความคิดทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คุณค่าของชีวิตและความเป็นมนุษย์นั้น จะพิจารณาจากแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ 
อาจไม่มีอะไรมา  เพราะในทัศนะทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเห็นว่า  สิ่งที่มีชีวิตก็เป็นเพียงสสารไม่ผิดอะไรกับหมู  วัว  ไก่  หรือสัตว์ที่มนุษย์บริโภค  เราซื้อหากันโดยซื้อกันเป็นกิโลกรัม  บางส่วนบางชิ้นก็ไม่มีค่าอย่างดีก็นำมาใช้เป็นปุ๋ยหรือเป็นอาหารสัตว์ต่อไปอีก  คุณค่าของมนุษย์ก็คงจะไม่เป็นเพียงแค่นั้น  ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์และชีวิตนั้นไม่ประกอบขึ้นแต่เพียงกาย  รูป  แต่ยังมีสิ่งสำคัญ 
และถาวรยิ่งกว่านั้นแต่อยู่ในลักษณะนามธรรม  คือ  จิตใจหรือวิญญาณจิต  ที่เรามองไม่เห็นแต่รู้ว่ามีอยู่และมีความมหัศจรรย์ในตัวเองอย่างไรบ้าง  เรารู้ว่าเราคิดเราฝัน  แต่เรามองไม่เห็นความคิดและ
ความฝัน  เรารู้สึกดีใจ  เสียใจ  แต่เราก็ยังไม่เห็นความรู้สึกดังกล่าว  การที่จะตระหนักรู้ถึงคุณค่า
ของมนุษย์และชีวิต  จึงจะมองเห็นด้วยดวงตาแห่งความคิดอันต้องอาศัยปัญญา
จากการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์โดยอาศัยด้านสหวิทยาการ  อาจสรุปได้ว่า  มนุษย์และสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย  ประกอบด้วยองค์ประกอบทางกายและทางจิต  ได้แก่
1.  องค์ประกอบทางกาย  เราได้ข้อมูลจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  โดยเฉพาะวิชาชีววิทยา 
เช่น  กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา  ว่ามนุษย์นั้นเหมือนกันในส่วนรวม  ที่แตกต่างกันก็ในความสมบูรณ์และความสมประกอบทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  กล่าวคือ  มนุษย์ย่อมมี อาการ 32” เหมือนกัน  แต่อาจแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ  ในด้านขนาดรูปร่าง  สีสัน  นอกจากกรณีพิเศษ 
เช่น  คนพิการ  แต่เขาก็เป็นมนุษย์ซึ่งอาจเกิดจากการบกพร่องหรืออุบัติเหตุ  อย่างไรก็ตามองค์ประกอบทางกายนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลายทำลายไปได้  เพราะครามเจ็บไข้ได้ป่วย  หรือเสื่อมตามอายุขัยซึ่งถูกกำหนดไว้ตาม ธรรมชาติ
2.  องค์ประกอบทางจิต  อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ปรากฏการณ์ หรือหน้าที่  ได้แก่ทางความคิดและทางจิตใจ
                        2.1  ทางความคิด  (Mental)  มักจะใช้คำถามว่า  อะไรผิด  ถูก  เหมาะสม  รู้หรือไม่ 
เข้าใจหรือไม่  รู้มากหรือรู้น้อย  ฯลฯ
                        2.2  ทางจิตใจ  (Moral และ Spiritual)  แสดงออกในลักษณะของความเชื่อศรัทธาว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรเป็นบาปบุญคุณโทษ และความเชื่อถือในกฎแห่งกรรม และการเวียนว่าย
ตายเกิด
สรุปได้ว่า องค์ประกอบของมนุษย์ได้แก่  กาย และจิต  หากองค์ประกอบใดหายไป  ชีวิตของมนุษย์จะสิ้นสลายไป

2.4  มนุษย์มีความแตกต่างกัน
เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่ามนุษย์เรามีความแตกต่างกัน ส่วนสาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกันนั้น อาจวิเคราะห์ได้หลายด้าน  เช่น  ด้านจิตวิทยา  ด้านศาสนา  ด้านการกระทำ  และด้านสหวิทยาการ  รวมทั้งด้านพุทธศาสนา
1.  ด้านจิตวิทยา  ได้แก่
                           1.1  กรรมพันธุ์  (Heredity)  คือการสืบทอดคุณลักษณะของมนุษย์โดยทางสายเลือด  คือ  ยีนในโครโมโซม  ทั้งลักษณะทางร่างกาย  และเชาว์ปัญญาเมื่อเริ่มปฏิสนธิ
                           1.2  สิ่งแวดล้อม  (Environment)  ประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  คือ  สภาพทางภูมิศาสตร์  และสิ่งแวดล้อมทางสังคม  ได้แก่  รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกลุ่มในชุมชนและสังคม  เจตคติ  ความคิดเห็น  ค่านิยม  และพฤติกรรม  เรียกว่าขนบธรรมเนียมประเพณี  และวิถีประชาสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันนี้ย่อมทำให้บุคคลที่มีเชาว์ปัญญาและปัจจัยต่างๆ เหมือนกันให้แตกต่างกันได้  เช่น  ฝาแฝดคู่เดียวกัน  จากพ่อแม่เดียวกัน  ได้รับการเลี้ยงดูในที่เดียวกัน  เมื่อโตขึ้นก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน  เป็นต้น
2. ผลการกระทำ  ถือว่าความแตกต่างของคนเราขึ้นอยู่กับ “กรรมเก่า” และ “กรรมใหม่”  ดังที่นิพนธ์ คันธเสวี  (2528 : 12-13)  ได้ให้แนวคิดไว้ดังนี้
2.1  กรรมเก่า  หมายถึง  ผลของการกระทำของตนเอง  หรือผู้ให้กำเนิด  อันรวมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ  เช่น  สิ่งที่เกิดขึ้นตามกรรมพันธุ์ก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องของกรรมเก่า  เช่น  ลูกพิการเพราะพ่อหรือแม่ติดเชื้อกามโรค  ก็ถือว่า  พ่อหรือแม่สร้างกรรมไว้ให้เกิดแก่ลูก  ลูกได้รับกรรมเก่าของตัวเองโดยพ่อหรือแม่  หรือเด็กซนจนเกิดอุบัติเหตุ  ตอนหลัง ๆ เป็นผู้ใหญ่แล้วเป็นคนพิการก็เพราะกรรมเก่าเมื่อเป็นเด็กได้ทำไว้  คนที่เรียนหนังสือไม่เก่งเพราะเมื่อก่อนนั้นไม่เอาใจใส่ไม่ขยัน  ไม่ตั้งใจเรียน  ได้แต่เที่ยวเตรี  เล่น  สนุกสนาน  ทำอะไรตามใจตัวเอง  เลยทำให้พื้นฐานของวิชาการต่าง ๆ อ่อนมากรวมทั้งนิสัยการเรียนการหารความรู้เสียไป  พอขึ้นมาเรียนในชั้นสูง ๆ ก็รู้สึกจะไปไม่รอด  เรียนได้ไม่ดีเกิดมีอาการความคับข้องใจ  ท้อใจ  พาลไม่เรียนและโทษคนโน้นคนนี้ หรือชะตาวาสนาของตัวเอง ก็เป็นอุทาหรณ์ของกรรมเก่า หรือคนที่ทำความเสียหายไว้ในตอนเป็นเด็กหรือหนุ่มสาว  เช่น  สร้างศัตรูไว้เพราะความโกรธ  ความโลภ  หรือกินโกงยักยอก  กินสินบาดคาดสินบน  ฉ้อราษฎร์บังหลวง  ต่อมาเป็นผู้ใหญ่  คนที่รู้จักประวัติของคนคนนี้ดีก็ไม่มีความศรัทธาเลื่อมใส  ไม่ให้ความร่วมมือด้วยหรือไม่มีคนคบค้าสมาคมด้วย  หรือคนบางคนไม่เคารพนับถือบิดามารดา  ไม่กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีบุญคุณ  ตอนหลังมาเป็นผู้ใหญ่มีลูกของตัวเองลูก ๆ ก็อาจคิดและทำอย่างเดียวกับที่ตัวเองเคยทำกับพ่อแม่ พ่อแม่เคยช้ำใจผิดหวังอย่างไรตัวเองก็จะประสบเหตุการณ์เช่นเดียวกัน
2.2  กรรมใหม่  หมายถึง  การกระทำของคนเราในปัจจุบันและในอนาคต  ซึ่งอาจจะดีหรือไม่ก็ตาม  จะส่งผลต่อไปในภาคหน้า  บางกรณีคนเราพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นเพราะรู้สึกสำนึกหรือรับผิดในความบกพร่องของตัวเองในอดีต  ก็ตั้งใจ “จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด”  เหล่านี้นั้นก็นับว่าใช้กรรมใหม่แก้ไขกรรมเก่า  ซึ่งก็เป็นสิ่งดี  ดีกว่าไม่แก้ไขเลย  แม้ว่ากรรมเก่าเดิมนั้นจะยังคงติดตามมาสนองตอบตามโทษานุโทษอยู่ก็ตาม  แต่ก็เป็นผ่อนหนักเป็นเบาได้มาก
3.  ด้านสหวิทยาการ
                เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุอันแท้จริงที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างกัน  ควรได้พิจารณถึง
ด้านสหวิทยาการดังที่  อภิญดา  สวารชร  (2530 : 10-14)  ได้ในแนวความคิดถึงสาเหตุที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกัน  ดังนี้
                           3.1  กรรมพันธุ์  คือการสืบเชื้อสายที่รับทอดทางสายสัมพันธ์จากพ่อ  แม่  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ฯลฯ  ซึ่งจะถ่ายทอดในลักษณะรูปร่าง  หน้าตา  ฯลฯ
                           3.สิ่งแวดล้อม  เป็นสิ่งที่ได้รับการทอดจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิด และจำเจเป็นเวลานาน  เช่น  จากเพื่อนบ้าน  เพื่อนที่โรงเรียน  แบบอย่างที่พบเห็นจำเจ  จากภาพยนตร์  โทรทัศน์  เป็นต้น  เพื่อนบ้านดี    เพื่อนที่โรงเรียนดี  ก็ถ่ายทอดสิ่งดี  นิสัยให้เรา  ภาพยนตร์ดี  มีคติดี  เราก็เป็นคนดี
                           3.3  การกระทำ  ได้แก่  การที่ประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ  เช่น  คนที่
ฝึกหัดกิริยามารยาทเรียบร้อย
  หรือท่าทางที่สง่าผ่าเผย  ก็จะทำให้เป็นผู้มีกิริยาเรียบร้อย  สง่าผ่าเผย  ส่วนผู้ที่มิได้ฝึกหัดอาจมีพฤติกรรมตรงข้าม
                           3.4  วัย  ผู้ใหญ่ย่อมจะมีมีประสบการณ์  ความสุขุมเยือกเย็น  ผ่านชีวิตมากกว่า  จึงแตกต่างกับเด็กหรือผู้มีวัยอ่อนกว่า
                           3.5  ความแข็งแรง  การที่บุคคลมีร่างกาย  จิตใจ  แข็งแรง  หรืออ่อนแอ  มีโรคภัยไข้เจ็บรบกวน  ทำให้บุคคลเกิดความแตกต่างกัน
                           3.6  การอบรมสั่งสอน    บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมมาต่างกัน  ก็ย่อมทำให้เกิดความแตกต่างกันได้
                           3.เพศ   หญิงชายย่อมมีความแข็งแรง  ความมั่นคง  ความหวั่นไหว  ความรู้สึกผิดชอบ  ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและความเชื่อที่แตกต่างกัน
                           3.การศึกษา  ความรู้มาก หรือน้อยย่อมจะทำให้มนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือมีความรู้  ความเข้าใจ  รู้สึกนึกคิดต่างกัน
                           3.9  ฐานะทางเศรษฐกิจ   ความรวยความจนทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปหลายอย่าง  เช่น  ความเชื่อถือ  ศรัทธา  ความมั่นใจ  บุคลคิกภาพ  ความคิด  นิสัยใจคอเปลี่ยนไป  เมื่อฐานะเปลี่ยนไปคนจนอาจรู้จักนอบน้อมถ่อมตน  แต่คนรวยส่วนใหญ่มีคนนับหน้าถือตามาก  ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
                           3.10  ถิ่นกำเนิด    ดินฟ้าอากาศย่อมมีส่วนหล่อหลอมให้มนุษย์มีบุคลิกภาพและนิสัยใจคอแตกต่างกัน
                                          ทางเหนือ อากาศหนาวเย็นสบาย ทำให้เป็นคนเมืองเหนือใจดีเป็นมิตรกับคนทั่วไป
                                          ทางใต้ ต้องผจญกับดินฟ้าอากาศแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ลมทะเลพัดแรงและเสียงดัง อากาศร้อน ทำให้คนใต้ต้องทำตนหรือพูดแข่งกับเวลาและเสียงลมทะเล ส่วนใหญ่จึงพูดเร็ว
                          3.11  เชื้อชาติ  ทำให้มนุษย์มีรูปร่างหน้าตา  สีผิวกาย  ผม  ขน  แตกต่างกันไป
                           3.12  ศาสนา  หล่อหลอมให้มนุษย์มีความเชื่อถือ  อบรมสั่งสอนให้ยึดมั่นมาต่างกัน ต่างคนต่างศาสนา  ก็ย่อมต่างความนึกคิดแล้วแต่ว่าศาสนาจะอบรมสั่งสอนอย่างไร
                           3.13  ภาษา   มนุษย์ในโลกนี้มีภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารแตกต่างกันหลายร้อยหลายพันภาษา  ทำให้มนุษย์ติดต่อกันได้บ้างไม่ได้บ้าง  เข้าใจกันได้ไม่สนิทใจ  อาจเกิดความรู้สึกขัดแย้งดูหมิ่นดูแคลน  เหยียดหยามกันได้  การสื่อด้วยภาษาที่แตกต่างกัน  เราต้องพยายามทำใจเป็นกลาง  มองคนในแง่ดี  เพราะบางทีการตีความของภาษาไม่ตรงหรือถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของผู้พูด  ถ้าผู้ฟังฟังแล้วปักใจเชื่อโดยไม่ไตร่ตรองเสียก่อน  มิตรภาพอาจบิดเบือนได้
                           3.14  กฎหมาย   ขนบธรรมเนียมประเพณี  ก็มีส่วนทำให้คนเราแตกต่างกัน  เช่น  ประเทศอาหรับอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้ถึง 5 คน โดยไม่ผิดกฎหมาย  แต่เมืองไทยเราถือว่าคนเดียวเท่านั้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย
                           3.15  อิทธิพลของกลุ่ม   บรรดาพวกมีอิทธิพล  อาจทำให้ความคิด  ความเชื่อ  ความประพฤติปฏิบัติของคนเราแตกต่างไป  ถ้าเราอยู่ในกลุ่มอิทธิพลซึ่งมีความคิดดีสร้างสรรค์  เราก็เป็นคนดีแต่หากไปอยู่ในกลุ่มโจรก็กลายเป็นคนไม่ดีตามกลุ่มไปด้วย
4.  ด้านพุทธศาสนา
                             ในเรื่องสาเหตุของความแตกต่างกันของมนุษย์นั้น  ขนิษฐา  วิเศษสาธร  และคณะ  (2526 : 125-126) ได้กล่าวว่า  พระพุทธเจ้าได้จำแนกความแตกต่างระหว่างบุคคลออกเป็นจริต 6 ประเภทด้วยกัน  คือ
                           4.1  ราคจริต  คนประเภทนี้จะรักสวยรักงาม เกลียดสิ่งเศร้าโศก  จะทำะอะไรก็ทำไปตามอำนาจของความสวยงามเป็นใหญ่  อ่อนไหวง่าย  เป็นต้น
                           4.2  โทสจริต  คนประเภทนี้ใจร้อนใจเร็ว  ตัดสินใจรวดเร็ว  ทำอะไรผิดพลาดได้ง่าย  เกลียดความเงียบเหงา  ความอ่อนแอ  ชอบบู๊  เป็นต้น
                           4.3  โมหจริต  คนประเภทนี้  จะมีความมัวเมาต่าง ๆ  เขลา  เฉื่อยชา  ไม่เฉลียวฉลาด  ทำอะไรไม่เอาจริงเอาจัง  ใจลอย  นั่งหลับเวลาประชุม  ไม่ชอบนึกคิดอะไรด้วยตัวเอง  เป็นต้น
                           4.4  ศรัทธาจริต  คนประเภทนี้  ชอบบูชาความเชื่อ  เชื่ออย่างจริง ๆ จัง ๆ  เชื่อหมอดู  เครื่องรางของขลัง  อาจทำบุญจนหมดตัวได้  และไม่ชอบให้ใครมาค้านความเชื่อของเขา
                           4.5  วิตกจริต  คนประเภทนี้  เป็นข้นเจ้าความคิด  คิดแล้วกังวลมาก  เรื่องเล็กคิดเป็นเรื่องใหญ่  จู้จี้  ร่ำไร  ตัดสินใจช้า  ไม่กล้าตกลงใจ  จึงไม่มีลักษณะเป็นหัวหน้าที่ดีได้  กลัวทุกเรื่อง  ไม่กล้าเสี่ยง
                           4.6  พุทธิจริต  คนประเภทนี้  เป็นคนฉลาด  ใช้เหตุผล  และชอบหาความรู้  ชอบค้นคว้าหาข้อเท็จจริง  แบบนักวิชาการทั้งหลาย  คนประเภทนี้ชอบอิสระในการได้ค้นคว้าศึกษาขบคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง  เป็นต้น
จากลักษณะทั้ง 6 ประเภทนี้  เราจะสังเกตว่าใครมีจริตประเภทไหน  ได้โดยดูจากการเดิน 
การนั่ง  การยืน  การนอน  การทำงาน  การกิน  และสิ่งที่เขาสนใจ  ตัวอย่างเช่น

คุณลักษณะ
ราคาจริต
โทสจริต
โมหจริต
การเดิน

ค่อย ๆ เดินแบบเยื้องกราย

รีบเดิน  ผลุนผลัน

เดินตามสบาย ๆ เหม่อลอย เดี๋ยวช้าเดี๋ยวเร็ว
การนั่ง,ยืน

นั่งเรียบร้อย  เก็บมือ   เก็บเท้ายืนหรือนั่งในที่เรียบ ๆ
กระด้าง  มือไพล่หลัง  ไม่เลือกที่ยืน
ท่านั่ง  ท่ายืน  เหม่อลอย
ไม่พิถีพิถัน  มักเป็นที่
การนอน

เตรียมตัวก่อนนอน  จัดที่นอนเรียบร้อยเสมอ
รีบร้อนลงนอน  ปัดที่นอนอย่างลวก ๆ
ล้อเลียนของผู้อื่น
แบบเดียวกับโทสจริต
การทำงาน

ถ้ากวาดบ้านจับปลายไม้กวาด  กวาดทุกซอกทุกมุมอย่างละเอียดลออ  และค่อย ๆ กวาด

จับกึ่งกลางไม้กวาดแบบนับรบจับด้ามกวาดอย่างรีบร้อน 
ปกติไม่ชอบ
กวาดบ้าน
จะต่างกันที่จัดที่นอนไม่เป็นกวาดไม่สะอาด  กำไม้กวาดหลวม ๆ

การกิน

อาหารรสไม่จัด  ชอบปรุงอาหารเอง  ไม่มูมมาม

รสจัด  รีบ ๆ กิน  ไม่ชอบกินจุกจิก

รสไม่แน่นอน  กินไม่เรียบร้อย  ใจลอยเวลากิน 

การดู
ชอบดูของสวยงาม
ชอบการต่อสู้
ไม่ชอบการดู  ดูไปงั้น ๆ เอง

หมายเหตุ : คนศรัทธาจริตเหมือนคนราคจริต คนพุทธิจริตเหมือนคนโทสจริตคนวิตกจริตเหมือนโมหจริต

เมื่อเราได้ทราบว่ามนุษย์นั้นต่างกันไม่เหมือนกัน  ในแง่ของมนุษยสัมพันธ์เราจะไม่ปล่อยให้ความแตกต่างเหล่านี้เป็นเครื่องกีดขวางความสัมพันธ์  ทำให้เราเกิดอคติ  ทำให้เราเกิดอารมณ์ขัดแย้งในความไม่เหมือนเรา  หรือขัดกับเรา  แต่เราต้องพยายามเข้าใจเขา  ให้อภัยเขา  ปรับตัวเราให้เข้ากับเขา  คล้อยตามเขาบ้างในบางกรณีบางสถานการณ์  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ในเชิงบวก 
มีทัศนคติที่ดีต่อคนทั่วไป คิดเสมอว่าเขาเป็นเพื่อนร่วมโลกกับเรา  ธรรมชาติของเขาเป็นอย่างนั้นเอง  เขามีฐานนะและเกียรติของความเป็นคนเท่ากับเรา แต่เราอย่าเป็นคนระแวง อย่างวางตนเหนือคนอื่นแม้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้น้อย  เห็นใจเขาเอาใจเขามาใส่ใจเรา  ทบทวนดูว่าหากเราเป็นเขาและอยู่ในสภาพการณ์อย่างเขาเราจะทำอย่างนั้นหรือไม่ คิดเสมอว่า  การกระทำของทุกคนมักมีสาเหตุพยายามคิดถึงสาเหตุจะทำให้เราไม่ค่อยโกรธและมีทัศนคติที่ดีต่อคนอื่น ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างมีค่าความเป็นคนเท่าเทียมกัน

จึงสรุปได้ว่า มนุษย์มีความแตกต่างกันทั้งกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

2.5  พฤติกรรมของมนุษย์
พฤติกรรมของมนุษย์เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน  ยากแก่การเข้าใจ  เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น 
จึงควรศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมดังที่  นิพนธ์  คันธเสวี  (2528 : 13-16)  ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ไว้ดังนี้
ธรรมชาติของมนุษย์อีกมิติหนึ่ง  คือ  ความรู้สึกเป็นสุขไม่เป็นสุข  (ทุกข์)  หลายคนมักจะพูดเสมอว่าคนเราทุกวันนี้แสวงหาความสุขกันทั้งนั้น  แต่บางคนก็มีความสุข  บางคนก็มีความทุกข์  จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่กรณี  อะไรคือความสุข  อะไรคือความทุกข์
ความสุขคือภาวะของความสมหวัง  สมอยาก  สมปรารถนา  หรือได้สิ่งที่ต้องการจะได้ 
ความทุกข์  ก็คือภาวะตรงกันข้ามกับความสุข
ความไม่สุข-ไม่ทุกข์  ก็คือภาวะกลางๆ คือไม่ผิดหวัง  ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีใครหรือสิ่งใดมากระทบกระเทือนให้ผิดไปจาก “ปกติ” ที่บุคคลนั้นๆ คิดหรือตั้งเป็นมาตรฐาน

ทางจิตวิทยา  ได้อธิบายพฤติกรรมของคนเราไว้เป็นสูตรพื้นฐานดังนี้


สิ่งเร้านั้นจะเป็นอะไรก็ได้  ในทางพุทธศาสนาจำแนกออกเป็น 6 เรียกว่า  อายตนะภายนอก 6  ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และมโน หรือการได้เห็นด้วยตา การได้ลิ้มรสด้วยลิ้น  การได้กลิ่นด้วยจมูก  การได้ยินเสียงด้วยหู  การได้สัมผัสด้วยผิวกาย  และการเกิดอารมณ์  การได้คิดคำนึงระลึกถึงหรือฝัน
เหล่านี้ทำให้อินทรีย์หรือตัวเราเองหรืออายตนะภายใน  เมื่อถูกเร้าผ่านตา หู จมูก ลิ้น กายและใจนั้น  ทำการตอบสนองเป็นการแสดงออก  เรียกว่า  พฤติกรรม  พฤติกรรมนี้อาจเป็นไปในลักษณะที่เห็นได้ สังเกตได้ เรียกว่า พฤติกรรมเปิดเผย ส่วนที่มองเห็นไม่ได้สังเกตไม่ได้  เรียกว่า  พฤติกรรมปกปิด  (Covert  Behavior)  ซึ่งเป็นนามธรรม  เช่น  ความรู้สึกนึกคิด  ความใฝ่ฝัน  ทะเยอทะยาน ความอิจฉาริษยา อาฆาตมาดร้าย  เป็นต้น
สิ่งเร้าภายในที่เป็นความคิดนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากทีเดียว  เพราะเป็นต้นตอของปัญหาพื้นฐานในทางศาสนาเชื่อว่ามนุษย์เรามีความโน้มเอียงอยู่ในสันดาน  เรียกว่า “อนุสัย” หรือ “Inclination” Sigmund Freud เรียกว่า “Id”  พระพุทธเจ้าได้รวบรวมสิ่งที่เป็นอนุสัยไว้ 7 ประการ คือ
1.  ราคานุสัย คือ สันดานความชอบพอรักใคร่ สนใจ ชื่นชม ยินดีในสิ่งที่สวยงาม  น่ารัก  น่าใคร่ ซึ่งรวมทั้งความพอใจทางเพศ
            2.  ภวราคานุสัย คือ  สันดานความรักชอบพอใจในการที่จะมี  จะเป็นสิ่งที่เราชอบพอใจ  รวมทั้งฐานะความเป็นอยู่ที่สบาย  สะดวกทั้งทางกายและทางอารมณ์  อันทำให้คนเราต้องดิ้นรนแสวงหาปัจจัยที่ทำให้ตัวเองมีฐานะดีกว่าเดิมอยู่เรื่อยๆ อันตามมากับความเป็นคนนั้นคนนี้  เพื่อจะได้มีความสะดวกสบาย  สนุกสนาน  รื่นรมย์
            3.  ปฏิฆานุสัย คือ  สันดานความขัดใจทำให้โกรธแค้น  ชิงชัง  รังเกียจ  อิจฉา  ริษยา  อาฆาตพยาบาทมาดร้าย  หรือความไม่พอใจในสิ่งที่มารบกวน  หรือทำอันตราย  ทำให้เกิดการป้องกันหรือระแวดระวังภัย  หลีกหนีหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์หรือน่าเกลียดน่ากลัวต่างๆ
            4.  ทิฏฐานุสัย  คือ  สันดานของความเชื่อถือที่ฝังแน่นเปลี่ยนแปลงยาก  คนเรามักจะมีความเชื่อถือฝังใจในอะไรบางอย่างอยู่เสมอ  เช่น  เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เชื่อผีสางเทวดา  เชื่อในหลักการทางวิทยาศาสตร์ในทฤษฎีในวิชาการที่ตนได้เรียนมา  เชื่อว่ามีตัวตนเป็นตัวตนหรืออัตตา  ความเชื่อถือเหล่านี้มักจะเป็นตัวกำหนดให้มนุษย์เราต้องคิด  ต้องทำ  ต้องพูด  หรือแสดงออกทั้งในส่วนตัวและสังคมภายในกรอบของความเชื่อถือ
            5.  วิจิกิจฉานุสัย  คือ  สันดานการช่างสงสัย  หรืออยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆ ดังเช่นที่มนุษย์คิดค้นคว้าประดิษฐ์  ทดลองอะไรอยู่เสมอมาแต่โบราณมาแล้ว  รวมทั้งการเล่นแร่แปรธาตุ  การใช้ยารักษาโรค  ประดิษฐ์เครื่องจักรยนต์กลไก  การสำรวจมหาสมุทร  และการส่งจรวดไปโลกพระจันทร์  รวมทั้งสิ่งที่พิเรนวิตถารต่างๆ ทั้งหลายทั้งดีและชั่ว
            6.  มานานุสัย  คือ  สันดานความถือตัว  จึงคอยเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นในด้านต่างๆ อยู่เสมอ  ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตัวเองวิเศษกว่าคนอื่น  ถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีอะไรดีกว่าผู้อื่น  แต่จะเกิดความรู้สึกมีปมด้อยน้อยเนื้อต่ำใจ  ถ้าพบว่าตัวมีไม่เท่ากับคนอื่น  ทั้งเกิดความรู้สึกข่มคนอื่นหรือถือตัว  หรือไม่ก็เกิดความอิจฉาหรือเกิดความท้อแท้ถดถอย
            7.  อวิชชานุสัย  คือ  สันดานไม่รู้แจ้งในธรรมชาติของตนเอง  ความรู้อันนี้ทำให้คนเราไม่รู้จักตัวเอง  ไม่ยอมรับว่าตัวเองไม่รู้  ลุ่มหลงงมงายในบางสิ่งบางอย่าง  ถึงกับมีการยึดมั่นถือมั่นว่า  ตัวเองนั้นเป็นตัวตนที่ถาวร  เป็น “อัตตา” ไม่เข้าใจและยอมรับในความหมายของอนัตตา  จึงไม่อาจสกัดหรือผลักอัตตานั้นออกไป  ความเห็นแก่ตัว  เห็นแก่ได้  เนื่องมาจากตัวฉันของฉันเพราะการงมงายในอัตตาของตัวเอง
ในจิตของมนุษย์นั้นมีอนุสัย  หรือสันดานทั้ง 7 นี้  เป็นองค์ประกอบโดยพื้นฐานอยู่  ซึ่งแท้จริงอนุสัยดังกล่าวนี้โดยปกติจะปรากฏในลักษณะกลางๆ หรือ Neutral  ไม่แสดงออกไม่ว่าทางดีหรือร้าย  บางท่านก็เปรียบอนุสัยว่าเป็นเหมือนตะกอนน้ำที่นอนอยู่ที่ก้นแล้ว  ถ้าปล่อยให้น้ำในแก้วนั้นอยู่เฉยๆ ตะกอนนั้นก็จะนอนนิ่งอยู่  น้ำในแก้วก็ดูใสสะอาด  คือต่างคนต่างอยู่  แต่พอมีอะไรมากวน  เช่น  เอาไม้มาแกว่างหรือเขย่าแก้วน้ำนั้น  ตะกอนก็จะกระจายตัวเกิดการขุ่นข้นขึ้น  ทำให้มองเห็นว่าน้ำนั้นไม่สะอาดมีตัวตะกอนเต็มไปหมด  สิ่งที่มากวนนั้น  ท่านว่าได้แก่การกวนด้วยอะไรก็ตามอวิชชานุสัยก็จะต้องทำหน้าที่กำหนดการแสดงออกในลักษณะของความหลงใหลหลงผิด  อันจะนำบุคคลผู้นั้นไปสู่ความทุกข์ (Sufferings) ต่างๆ ทั้งกายและใจ
เมื่อคนเราปล่อยจิตใจให้กิเลสครอบงำในการตัดสินใจ  ผลก็คือเราก็จะมีแต่ความทุกข์  แม้ว่าจะมีความสุขอยู่บ้างก็เป็นเพียงชั่วครู่ชั่วยาม  ชั่วครั้งชั่วคราว  เหมือนสิ่งที่ผลุบๆ โผล่ๆ ที่ผิวน้ำ  เวลาคนเรามีทุกข์จะมีอาการต่างๆ ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงรวบรวมไว้ดังนี้
            1.  โสกะ  (ความเศร้าใจ  รันทดใจ)
            2.  ปริเทวะ  (ความรำพัน  บ่นเพ้อ  ร่ำไห้  คร่ำครวญ)
            3.  โทมนัสสะ  (ความเสียใจ)
            4.  อุปกยาสะ  (ความคับแค้นใจ  ตรอมใจ)
            5.  อัปปิยสัมปะโยคะ  (ความทุกข์  เพราะประสบสิ่งที่ไม่สบอารมณ์)
            6.  วิปโยคะ  (ความทุกข์  เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่รัก)
            7.  อลาภะ  (ความทุกข์  เพราะปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ดังหวัง)

ผลของการไม่มีมนุษยสัมพันธ์หรือมีมนุษยสัมพันธ์ที่ไม่ดี  ก็จะยังผลให้เกิดทุกข์  เพราะฉะนั้น  การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดทุกข์ได้เป็นอย่างดี  แต่การที่จะสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีที่ถูกต้องนั้น  จำเป็นจะต้องเข้าใจกระบวนการของการเกิดทุกข์  และเหตุแห่งทุกข์ต่างๆ เสียก่อน

            เหตุแห่งทุกข์  หากจะกล่าวอย่างง่ายๆ และโดยสรุปแล้วได้แก่ 2 สิ่งนี้  คือ
                                            1.  ตัณหา
                                            2.  อวิชชา

1.  ตัณหา  คือ  ความต้องการทั้งหลายอันเป็นพื้นฐานทุกรูปนาม  ชีวิตต้องกิน  ดื่ม  พักผ่อน  พิทักษ์รักษาตัวเองจากภยันตรายต่างๆ ถ่ายเท  และสืบพันธุ์  ตัณหาเป็นตัวผลักดันหรือจูงใจ (Motives)  เมื่อผสมผสานกับอนุสัย (Inclinations) ต่างๆ ก็พร้อมที่จะแสดงออก
            2.  อวิชชา  คือ  ความไม่รู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด  และหลงผิด  และนำไปสู่การตัดสินใจแสดงออกตามการผลักดันของตัณหา  และทำให้ตัณหาทั้งหลายเป็นกิเลส 3 ประการ  ที่คนเราเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวัน  คือ  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง
เมื่อได้เข้าใจกลไกและกระบวนการที่ทำให้เกิดทุกข์และปัญหาในชีวิตแล้วเช่นนี้  สิ่งที่เราสนใจกันต่อไปคือ  จะป้องกันและแก้ไขปัญหาหรือทุกข์ดังกล่าวกันอย่างไร
            จะเห็นได้ว่าตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่  เราจะไม่ให้มีตัณหาเสียเลยย่อมไม่ได้  เพราะดังที่ได้กล่าวแล้วว่าตัณหาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งบางทีเรียกว่า  ความต้องการ  แต่ความต้องการนี้มีอยู่หลายระดับ  เช่น  ระดับพื้นฐาน  และระดับที่มีการปรุงแต่ง
เมื่อมีตัณหาก็ต้องมีการตอบสนองตัณหาระดับพื้นฐาน  คือความต้องการขั้นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้  แต่เมื่อตัณหาทางจิตใจมีพื้นฐานจากอนุสัย  และมีการกระตุ้นด้วยอายตนะ 6 (สิ่งเร้าโดยอาศัยสิ่งที่จะกำหนดระดับของตัณหาและทิศทางของการตอบสนอง
            สิ่งที่จะกำหนดขอบเขตและทิศทางดังกล่าวได้ดีก็คือปัญญา  ปัญญากับอวิชชาเป็นสิ่งตรงกันข้ามกัน  ปัญญาเป็นแสงสว่างหรือความรอบรู้  แต่อวิชชาเป็นความมืดหรือความไม่รู้
            ก่อนจะมีปัญญาก็ต้องมีสติ  (Superego ของ Sigmund Freud)  และสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวสติสัมปชัญญะจึงหมายความถึงการระลึกได้และรู้สึกตัว  ทำให้เกิดการยับยั้งชั่งใจขึ้นในขณะหนึ่ง  ถ้าเป็นรถก็หมายถึงการห้ามล้อ  การมีสติสัมปชัญญะ  เป็นแต่เพียงการระงับยับยั้งเพราะนึกขึ้นมาได้  แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะแก้ไขเหตุการณ์ให้ดีขึ้น  สิ่งที่จะทำให้ตัดสินใจว่าจะทำอะไรอย่างไรจึงจะดีและถูกต้อง  ก็ต้องใช้ปัญญา (ความเฉลียวฉลาดรู้ว่าอะไรดี  อะไรชั่ว  อะไรควร-ไม่ควร)




2.6  ความต้องการของมนุษย์
ความต้องการของมนุษย์ไม่มีสิ้นสุด จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจกันมากดังที่  ชลอ  ธรรมศิริ (2529 : 2-6)  ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ไว้ดังนี้
            มนุษย์ทุกวันนี้พยายามจะทำงานต่างๆ ก็เพื่อจะสนองความต้องการของตน  คือ  ต้องการยังชีพ  ต้องการความก้าวหน้า  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  ฯลฯ  ในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงกิเลส  คือ “ความอยาก” ว่ามีอยู่ 3 อย่าง  คือ
            1.  กามตัณหา       ความอยากในทางเพศ
            2.  ภวตัณหา         ความอยากมีอยากเป็น
            3.  วิภวตัณหา        ความไม่อยากมี  ความมีอยากเป็น

            ความอยาก 3 ประการนี้แสดงถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดจากร่างกายและจิตใจ  ความอยากทางกามเป็นเรื่องของร่างกาย  ส่วนความอยากมีอยากเป็น  ไม่อยากมีไม่อยากเป็น  เป็นอยากทางใจ  และทางพุทธศาสนายังได้กล่าวถึงปัจจัย 4 อันจำเป็น  ซึ่งได้แก่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรค  ซึ่งหมายความว่า  ความต้องการขั้นมูลฐานของมนุษย์อยู่ที่ปัจจัย 4 ในทางศาสนาสอนให้เรารู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์  เพื่อประโยชน์ในการหาทางดับทุกข์สำหรับมนุษย์ทั่วๆ ไป  ซึ่งยังไม่บรรลุธรรมอันสูง  ไม่หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาราคะต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องเกี่ยวข้องอยู่ธรรมดาโลก  คือ  ยังมีความต้องการในปัจจัย 4  ต้องการทางเพศ  และยังอยากมีอยากเป็น  ไม่อยากมีไม่อยากเป็นอยู่  และธรรมของพุทธศาสนายังได้กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ต่อไปอีกว่า  มนุษย์ทุกรูปทุกนามต้องการลาภยศ  สรรเสริญและสุขด้วย  ซึ่งเป็นความต้องการทางจิตใจ  ทั้งนี้  เพราะพระศาสนาได้รู้ถึงธาตุแท้ของมนุษย์ว่า  มีความต้องการทางร่างกายและจิตใจอย่างไร  ถ้าได้มีการสนองความต้องการให้ตรงกันก็จะเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกันได้  ซึ่งเป็นหลักมนุษยสัมพันธ์อย่างหนึ่งอันเป็นธรรมเบื้องต้นในพุทธศาสนา  นอกจากนั้นยังมีธรรมอีกหลายประการซึ่งเป็นเครื่องส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย  ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครองซึ่งอาจศึกษาได้จากหลักธรรมเหล่านั้น  ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อทราบว่าความต้องการหรือความอยากนั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งนักปราชญ์และศาสดารับรองไว้

มาสโลว์ (Maslow)  ได้กำหนดหลักการไว้ว่า “บุคคลพยายามสนองความต้องการของตนเพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จของชีวิต
            มาสโลว์ได้แบ่งความต้องการของบุคคลออกเป็น 5 ระดับ  ตามลำดับความสำคัญดังนี้
1.  ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา (Physiological Needs)  เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์(Survival Needs)  ได้แก่  ความต้องการในเรื่องของอากาศ  ความต้องการอาหาร  น้ำ  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  และความต้องการทางเพศ  เป็นต้น
            2.  ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยของชีวิต (Safety and Security Needs)  ได้แก่ความต้องการที่จะอยู่อย่างมั่นคงและปลอดภัยจากการถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกขโมยทรัพย์สิน  หรือความมั่นคงในการทำงาน  และการมีชีวิตอยู่อย่างมั่นคงในสังคม
            3.  ความต้องการด้านสังคม (Social Needs)  ได้แก่  ความต้องการความรัก  ความต้องการที่จะให้สังคมยอมรับว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Belonging Needs)
            4.  ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem Needs)  ได้แก่ความภาคภูมิใจ  ความต้อการดีเด่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะให้ได้รับการยกย่องจากบุคคลอื่น  ความต้องการด้านนี้เป็นความต้องการระดับสูงที่เกี่ยวกับความมั่นใจในตนเอง  ในเรื่องของความรู้ความสามารถและความสำคัญของบุคคล
            5. ความต้องการความสำเร็จแห่งตน (Self-Actualization Need) เป็นความต้องการในระดับสูงสุด ซึ่งเป็นความต้องการที่อยากจะให้เกิดความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างตามความนึกคิดของตนเอง  เพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  ความต้องการด้านนี้จึงเป็นไปในแนวทางที่ดีที่สุดตามที่ตนคาดหวังเอาไว้

ระดับความต้องการดังกล่าวนี้  หากจะเขียนเป็นแผนภูมิแสดงถึงลำดับความสำคัญของการตอบสนองก่อนหลังเป็นรูปบันได
จากรูป  แสดงให้เห็นลำดับของความต้องการว่าได้มีการพัฒนาเป็นไปตามลำดับขั้นแรก  ความต้องการขั้นพื้นฐานสู่ความต้องการระดับสูงดังนี้  คือในขณะที่ความต้องการทางร่างกาย (สรีรวิทยา)  ยังมีอยู่มากบุคคลจะปฏิบัติตนเพียงเพื่อมุ่งสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเท่านั้น  ความต้องการประเภทอื่นจะมีบทบาทน้อยมาก  แต่เมื่อบุคคลนั้นได้รับการตอบสนองให้เกิดความพึงพอใจตามความต้องการระดับนี้แล้ว  ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัยของชีวิตจึงจะมีความสำคัญต่อตนเพิ่มขึ้นและตราบใดที่บุคคลยังไม่รู้สึกปลอดภัยหรือมั่นคง  ความต้องการด้านอื่นๆ ที่สูงขึ้นไปก็ยังมีความรุนแรง  ต่อเมื่อบุคคลได้รับสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัยแล้ว  บุคคลจึงจะเกิดความต้องการทางด้านสังคมมากขึ้น  เมื่อเวลาปฏิบัติงานใดๆ จะพยายามหาทางให้กลุ่มยอมรับว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม  และเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการนี้แล้ว  บุคคลก็มีความต้องการที่จะได้รับการยกย่องจากกลุ่มต่อไป  และเมื่อได้รับการยกย่องว่าปฏิบัติตนได้ดีเด่นแล้วในขั้นนี้  จะเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นผู้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น  ตนเองสามารถมีอำนาจเหนือบุคคลอื่นๆ บุคคลประเภทนี้จะเป็นผู้มีความมั่นใจในตนเอง  รู้สึกว่าตนมีศักดิ์ศรีตระหนักถึงความเป็นจริงในตัวเอง (Self-Actualization) มากขึ้น  และในที่สุดจะแสดงความสามารถในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้  จะเห็นได้ว่าทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์เป็นแรงจูงใจทางสังคมทั้ง 3 ประเภท  คือ  เป็นแรงจูงใจทางสังคมประเภทใฝ่สัมพันธ์  เช่น  ต้องการความรักเป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลอยากรู้จักคนอื่น  แรงจูใจทางสังคมประเภทใฝ่อำนาจ  เช่น  ต้องการมีอำนาจตำแหน่งหน้าที่มีเกียรติ  และแรงจูงใจทางสังคมประเภทใฝ่สัมฤทธิ์  เช่น  ต้องการความสำเร็จในชีวิต  เป็นต้น

            อย่างไรก็ตามอาจจัดแบ่งความต้องการของมนุษย์ได้ 2 ด้าน  คือ
            1.  ความต้องการทางร่างกาย  ซึ่งได้แก่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  และความต้องการทางเพศ
            2.  ความต้องการทางจิตใจ  ซึ่งได้แก่
                 2.1  ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน
                 2.2  ความต้องการความเป็นใหญ่มีศักดิ์ศรี
                 2.3  การยกย่องรับรู้ในผลการปฏิบัติดี
                 2.4  มีความก้าวหน้าในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน
                 2.5  มีความสำคัญต่อหมู่คณะหน่วยงานที่สังกัดอยู่
                 2.6  ต้องการมีประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ
     2.7  ต้องการเสรีภาพในขอบเขตพอควร

จากการค้นคว้าพบว่าความต้องการของมนุษย์มีอะไรบ้างนี้ทำให้ทราบความจริงว่า  เพราะความต้องการนี้แหละที่ผลักดันให้มนุษย์ต่อสู้ดิ้นรนและทำทุกสิ่งทุกอย่าง  เพื่อสนองความต้องการของตนเองแต่จะต้องดิ้นรนต่อสู้มากน้อยเพียงใดนั้น  ก็ขึ้นอยู่กับระดับความต้องการของตน  ซึ่งแต่ละคนมีไม่เท่ากันการที่เราศึกษาให้รู้ถึงความต้องการของมนุษย์ก็เพื่อจะได้นำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีตามหลักมนุษย์สัมพันธ์  เพราะเมื่อรู้ความต้องการอันเป็นธรรมชาติของคนแล้ว  จะได้บำบัดความต้องการเหล่านั้นได้ถูกต้อง  สรุปแล้วทำให้เราทราบดังนี้  คือ
            1.  ทราบความต้องการตามลำดับให้ตัวบุคคล
            2.  คนจะพยายามทุกทางเพื่อให้บรรลุความต้องการทีละขั้น
            3.  เมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง  ความต้องการนั้นก็จะหมดความสำคัญไปไม่เป็นแรงกระตุ้นอีกต่อไป
            4.  ทำให้เกิดความสนใจและต้องการสิ่งใหม่ต่อไปอีก
            5. ความต้องการขั้นแรกที่ได้รับการตอบสนองแล้ว  อาจเป็นความจำเป็นสิ่งใหม่เมื่อต้องสูญเสียหรือขาดไป
            6.  ความต้องการที่เคยมีความสำคัญ จะลดความสำคัญลงก็ต่อเมื่อมีความต้องการที่ใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่
   
มนุษย์มีความต้องการเหมือนกันตามลำดับขั้นของความต้องการ  แต่ก็ยังมากน้อยต่างกัน  เพราะบางคนต้องการเพียงความมั่นคงในชีวิตเท่านั้น ไม่ต้อการความสำเร็จยิ่งไปกว่านั้น  แต่บางคนเท่าไรก็ยังไม่พอ  พยายามทุกอย่างทั้งทางดีและทางชั่ว  เพื่อให้ได้ตามความต้องการ